fbpx

รู้จักกับภาวะ  Asphyxia โรคร้ายในเด็กอันดับต้นๆ ของไทย แต่พ่อแม่หลายคนไม่เคยรู้

Writer : parentsone
: 12 กันยายน 2560

ถ้าพูดถึงภาวะ  Asphyxia หลายๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นหูนัก ซึ่งภาวะนี้โรคนี้เป็นการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่นำเป็นสู่อาการอันตรายหลายๆอย่าง  โดยพบในเด็กถึง 2 ใน 3 จาก 1,000 คน เราเลยมาพูดคุยกับ  นายเเพทย์ ธนินทร์ เวชชาภินันท์ นายเเพทย์เชี่ยวชาญด้านกุมารประสาทวิทยา จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เกี่ยวกับรายละเอียดของภาวะนี้กัน

สาเหตุของภาวะ Asphyxia

สาเหตุเแรก คือ เริ่มตั้งเเต่ในท้องเเม่ก่อนคลอด มาจากหลายอย่าง เช่น

  • เด็กสายรกเสื่อม
  • ปัญหาจากการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษเนื่องจากเเม่มีความดันโลหิตสูง
  • ภาวะที่เเม่ช็อกเพราะเสียลือดมากดังนั้นเลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงเด็กได้เพราะความดันโลหิตต่ำ
  • กรณีแม่ประสบอุบัติเหตุ ที่ส่งผลต่อความดันโลหิตของแม่
  • เด็กติดอยู่ในปากมดลูกนานเกินไปเนื่องจากการคลอดมีปัญหาเเละขาดออกซิเจนในที่สุด

ซึ่งถ้าเเพทย์หรือผู้ดูเเลวิเคราะห์ว่าเด็กมีภาวะ Asphyxia  ตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้ว ก็อาจจต้องคลอดด้วยวิธีอื่น เช่น ผ่าตัดออกทางหน้าท้องโดยด่วน เพื่อให้เด็กคลอดออกมาในช่วงที่สมองเด็กไม่ขาดออกซิเจนมากไปกว่านี้ จากนั้นก็พาออกมาดูแลข้างนอกแทน

หรือในบางราย เด็กอาจมีภาวะบางอย่างจนทำให้เกิดการ “คลอดก่อนกำหนด”  โดยที่จริงเเล้วปกติการคลอดจะต้อง 38 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 9 เดือน เด็กจึงจะร่างกายสมบูรณณ์ มีปอด เเละสมองสมบูรณ์พร้อมที่จะออกมาหายใจภายนอกได้ เเต่การที่เด็กคลอดก่อนกำหนดอาจมาจากที่ในท้องมีความผิดปกติบางอย่าง ดังนั้นเด็กจึงเกิดการป้องกันตัวเอง ด้วยการพยายามออกมาจากในท้องเเม่ จนเกิดเป็นภาวะเกิดก่อนกำหนดในที่สุด

โดยการคลอดก่อนกำหนดนี้ อาจทำให้ปอดยังไม่พร้อมทำงาน เพราะขาดสารยืดหยุ่นของปอด ดังนั้นปอดจึงไม่ขยายตัว ประกอบกับปอดยังขยายตัวไม่เต็มที่ มีปัญหาในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองจึงน้อย เเละสมองเองก็เป็นอวัยวะที่ต้องใช้ออกซิเจนมาก และอาจมีอาการเเสดงออกทางสีผิว คือ อาจจะตัวเขียว (ภาวะ“เด็กเขียว”) หรือ บางรายมาโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเเล้ว  หรือมีอีกประเภท คือ เด็กที่คลอดตามเวลาปกติครบ 38 สัปดาห์ เเต่มีปัญหาเกิดขึ้นขณะคลอด เช่น

  • ภาวะรกมีปัญหาเช่นรกเกาะต่ำ
  • คลอดปกติเเล้วมาขาดออกซิเจนข้างนอก
  • เด็กปอดอักเสบติดเชื้อตั้งเเต่อยู่ในท้องเเล้วออกมาขาดออกซิเจนอยู่ข้างนอกทำให้ระบบเเลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่สมบูรณ์เป็นผลให้ได้รับออกซิเจนน้อย

เด็กกลุ่มอายุครรภ์ปกตินี้เมื่อเกิดสภาวะ Asphyxia จะทำให้ความดันในปอดสูง เลือดผ่านเข้าปอดไม่ได้ พอเลือดผ่านปอดไม่ได้ ก็ไม่สามารถเเลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจนอีก นั่นหมายความว่าแม้เด็กอายุครรภปกติก็อาจเกิดภาวะ Asphyxia ได้เช่นกัน

ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมดอาจนำไปสู่การที่สมองของเด็กๆ ขาดออกซิเจน และอาจจะทำให้มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา คือ

  • ชักตั้งเเต่เเรกเกิด
  • ชักหลบใน (แบบไม่มีอาการให้เห็น) จะเห็นแค่เด็กนอนนิ่งๆ
  • อวัยวะในร่างกาย ทำงานไม่สมบูรณ์ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต ลำไส้ เป็นต้น
  • ส่งผลให้สมองเหี่ยวเล็กลง หรือ สมองพิการ (Cerebral palsy)
  • โรคพัฒนาการช้า หรือ ภาวะไอคิวต่ำ ทำให้มีปัญหาด้านการเรียนในอนาคต
  • โรคลมชัก

เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด คือ ให้อยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ ในโรงพยาบาลที่บุคลากรพร้อมดูแลเด็กแรกเกิดจริงๆ

รู้จักกับแคมเปญ Hold Your Breath ช่วยต่อลมหายใจให้เด็กในไทย

ว่ากันว่าคนทั่วไป สามารถกลั้นหายใจได้ 30 วินาที แต่กับคนบางกลุ่มอาจไม่มีโอกาสเหมือนกับเรา
นี่คือส่วนหนึ่งของคำพูดที่เป็นที่มาของแคมเปญ Hold Your Breath ที่ Generali Thailand ตั้งใจสร้างสรรค์ เพื่อให้คนไทยได้รู้จักกับภาวะ Asphyxia หรือภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมรูปแบบใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้คนในสังคม

คุณบัณฑิต  เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ประจำประเทศไทย เผยถึงที่มาของแคมเปญนี้ว่า ทาง Generali Group บริษัทแม่ที่ประเทศอิตาลี  ได้มีการระดมไอเดียของพนักงานจากทุกประเทศทั่วโลกเพื่อเลือกเฟ้นสิ่งที่บริษัทจะก้าวเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่ง “Asphyxia” ก็เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่ได้%B

Writer Profile : parentsone

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
27 กรกฏาคม 2560
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save