fbpx

แอปพลิเคชัน & เกมที่ลูกเล่น เหมาะกับวัยของลูกไหมนะ ?

Writer : Jicko
: 21 มิถุนายน 2565

ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนกับชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตต่างๆ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการใช้เวลากับหน้าจอ ซึ่งสำหรับเด็กแล้วคงเป็นการควบคุมได้ยาก หากพ่อแม่อย่างเราๆ ไม่ได้ระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องแอปฯ ต่างๆ ที่เด็กสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะแอปฯ TikTok Facebook IG หรือเกมต่างๆ เรียกได้ว่าบางทีมีเนื้อหาค่อนข้างดูผู้ใหญ่ ทำให้แม่ๆ อย่างเราอาจจะต้องคัดกรองกันสักหน่อย ก่อนถึงมือของเด็กๆ จะเป็นการดีนะคะ

วันนี้ Parents One จึงได้รวบรวม แอปฯ ที่เด็กๆ มักจะใช้ มาดูกันว่าจริงๆ แล้วมันเหมาะสมกับลูกของเรามากน้อยแค่ไหน อายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมที่จะเล่นแอปฯ นั้นๆ ได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

แอปพลิเคชันยอดนิยมในกลุ่มเด็กไทย

  • YouTube 24.07%
  • LINE 13.61%
  • TikTok 11.42%
  • Messenger 8.34%
  • Facebook 8.26%
  • Roblox 5.38%
  • Instagram 4.17%
  • Chrome 2.85%

1. TikTok

ไม่ว่าจะวัยไหน เชื่อเลยว่าหากหลงเข้าไปเล่นไปใช้แล้ว หาทางกลับออกมาได้ยากมากๆ แต่หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนยังไม่ทราบเรามาทำความรู้จักกันค่ะ

แอปฯ อย่าง TikTok นี้ ส่วนใหญ่เป็น Content แนวคลิปวีดีโอสั้นที่มาแรงและเป็นกระแส นอกจากได้ดูเรื่องราวของคนอื่นๆ แล้ว เราเองก็สามารถถ่ายและแชร์วีดีโอนี้ได้ในเวลา 3 นาที อีกด้วย ซึ่งบางเนื้อหาก็อาจจะดูเกินจริง หากเด็กๆ ได้ดูก็เสี่ยงต่อการเข้าใจผิดเพราะด้วยวัยแล้ว บางทีเขาก็ไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่เกินจริงกับการตัดต่อของคลิปได้ ทำให้เด็กบางคนถึงขั้นทำตาม อย่างเช่น Challenge ต่างๆ ซึ่งบางอย่างอันตรายมากๆ สำหรับเด็กเลยล่ะค่ะ

อายุผู้ใช้งาน : 13 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ตั้งค่า Family Safety Mode เพื่อคัดกรองคอนเทนท์ที่เหมาะสม

2.Roblox (โรบล็อกซ์)

เป็นอีกหนึ่งเกมที่บอกเลยว่า เป็นเกมยอดฮิตสำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 6-12 ปี ยิ่งช่วงเปิดเทอมมาเพื่อนๆ ในห้องเล่นกันหมด แน่นอนว่าลูกๆ ของเราก็ต้องอยากเล่นบ้าง เพราะเดี๋ยวจะคุยกับเพื่อนๆ ในห้องไม่รู้เรื่อง!

Roblox เป็นเกมออนไลน์หนึ่ง ที่เด็กๆ สามารถเข้าไปเล่นทำกิจกรรมร่วมกับผู้เล่นคนอื่นๆ ได้ ด้วยสีสันของภาพที่สวยงาม แถมเด็กๆ ยังได้ใช้จินตนาการในการสร้างตัวละครต่างๆ ได้อย่างอิสระ ทำให้เกมนี้เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ เลยล่ะค่ะ

ถึงแม้จะทำให้เด็กๆ ได้มีความคิดสร้างสรรค์ และฝึกให้เขาได้จำลองสถานการณ์ในชีวิตแบบมีเป้าหมาย แถมยังสามารถสร้างตัวตนให้เขาได้ แต่มันก็มีข้อเสียที่คุณแม่ๆ ควรระมัดระวังในการเล่นเกมนี้อาจจะไม่ใช่เกมค่ะ แต่เป็นตัวนของเด็กๆ เอง เพราะในเกมนั้นต้องใช้สายตา ใช้นิ้วมือ มีการพูดคุย และมีการแพ้ ทั้งหมดนี้อาจจะเกิดผลเสียตามมาได้ หากเล่นอย่างไม่ระมัดระวังนั่นเองค่ะ

อายุผู้ใช้งาน : 7 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ตั้งค่าการควบคุมโดยปิดกั้นภาษาที่ไม่เหมาะสม หรือปิดช่องแชท เพื่อหลีกเลี่ยงการสนทนาที่เป็นอันตรายกับลูก และให้ลูกเล่นใน Spaces ของครอบครัว และไม่ให้ลูกติดต่อกับคนแปลกหน้า

3.Facebook

เฟซบุ๊ก เป็นอีกหนึ่งแอปฯ ที่เชื่อเลยว่าพ่อแม่อย่างเราก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเรียกได้ว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนที่อยู่ห่างไกล หรือคนที่ไม่ได้เจอกันนาน ได้กลับมาพูดคุยด้วยกันอีกครั้งแบบง่ายแสนง่าย ซึ่งหากเป็นพ่อแม่อย่างเราๆ แล้ว ก็เป็นเรื่องดีที่จะได้ใช้แอปฯ นี้เป็นช่องทางในการรับข่าวสาร และติดต่อต่างๆ

แต่สำหรับเด็กๆ แล้วอาจจะเป็นภัยอันตราย หากเขายังอายุยังน้อยและมีวุฒิภาวะไม่พอที่จะคัดกรองข่าวสารต่างๆ ตามโซเชียล หรือคัดกรองคนต่างๆ ที่จะเข้ามาเป็นเพื่อนบนโลกโซเชียลแบบผู้ใหญ่อย่างเราๆ ได้นั่นเองค่ะ

ซึ่งพ่อแม่อาจจะบังคับไม่ให้ลูกเล่นเลย หรือควบคุมการตั้งค่าให้เขา อย่างเช่น การตั้งโพสต์แบบไม่สาธารณะ การไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ โรงเรียน หรือการเช็กอินสถานที่ต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้คนแปลกหน้ารู้ถึงข้อมูลนี้มากเกินไป และเสี่ยงต่อการติดตามอย่างง่ายดายนั่นเองค่ะ

อายุผู้ใช้งาน : 13 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ให้ลูกใช้ Messengers Kids แทนในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี

4. YouTube

บ้านไหนลูกไม่ติด YouTube บ้าง แม่ปรบมือเลยค่ะ เพราะแอปฯ เรียกได้ว่าเป็นแอปฯ หลอกล่อเด็กให้หยุดงอแงอีกแอปฯ หนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยนะคะ ที่เราจะใช้หนทางนี้ในการแก้ไขปัญหาเด็กๆ ที่แสนดื้อ เพราะมันคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กๆ ติด YouTube ยังไงล่ะ

เรียกได้ว่าบางบ้านก็ทำสารพัดวิธีที่จะไม่ให้ลูกติดแอปฯ นี้ ดุก็แล้ว จำกัดเวลาก็งอแงใส่ แบบนี้ไม่เป็นผลดีต่อเด็กอย่างแน่ๆ ยิ่งเด็กเล็กที่พ่อแม่ไม่มีเวลาก็ยิ่งแล้วใหญ่ ปล่อยให้ลูกดู YouTube แบบนี้บอกเลยว่า แก้ยากที่จะไม่ให้เขาติดนะคะ

และที่สำคัญเลย YouTube นี่แหละที่เป็นสิ่งที่เด็กๆ ได้เปิดโลก ที่นอกจากการ์ตูนแสนน่ารักแล้ว มันก็ยังมีเนื้อหา Content ของผู้ใหญ่ ที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย

อายุผู้ใช้งาน : 18 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ให้ลูกใช้ YouTube Kids เพื่อครอบคุมเนื้อหาที่เหมาะสมกับลูก

5. PUBG MOBILE

คุณแม่ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อเกมนี้ ยิ่งถ้าคุณสามีเล่นก็อาจจะคุ้นเคย เพราะเป็นอีกหนึ่งเกมที่โด่งดังเกมหนึ่งในหมู่เด็กๆ อีกด้วย

เกมนี้เป็นเกมเป็นเกมที่เราต้องเอาตัวรอดให้ได้ จนเป็นคนหรือทีมสุดท้ายก็จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งอาจจะไม่ใช่คนที่ยิงได้เยอะสุด แต่เป็นคนที่หลบได้จนจบเกมต่างหาก

ซึ่งในอินเดียได้มีการสั่งห้ามเด็กไม่ให้เล่นเกมนี้ และได้มีตำรวจบางเมืองได้จับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยถึง 10 คน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งชาติของประเทศอินเดียได้แนะนำให้ จำกัด การเล่นเกมสำหรับลักษณะที่รุนแรง หลังพบเด็กวัยรุ่นเสียชีวิตเพราะเล่นเกม PUBG Mobile

เพราะฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่เองควรเลือกเกมที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย หรือเลือกเกมที่เล่นไปพร้อมๆ กับลูกได้ ควรดูเรตติ้งความเหมาะไว้เสมอ ซึ่งในแอปฯ ก่อนที่เราจะโหลด คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านคำอธิบายรายละเอียดของแอปฯ นั้นๆ ก่อนได้เช่นกันค่ะ

อายุผู้ใช้งาน : 18 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ดูช่วงอายุของลูกว่าเหมาะสมกับเกมนี้หรือไม่ พยายามคัดกรองเนื้อหาและดูเรตติ้งอายุเพื่อความปลอดภัยของลูกนั่นเองค่ะ

6. Garena RoV

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเกมที่เคยทำรายได้มากที่สุดในโลก และปัจจุบันก็ยังเป็นเกมที่คนเล่นเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนมีการจัด Esports ด้วย

โดยรูปแบบการเล่นนั้นคือผู้เล่นจะต้องเลือกฮีโร่มา 1 ตัว และไปทำการต่อสู้แบบ 5 ต่อ 5 กับฝั่งตรงข้าม มีการโจมตีกันซึ่งแต่ละทีมก็จะมีวิธีการเอาชนะที่แตกต่างกันแล้วแต่กลยุทธ์กันออกไป

ซึ่งในการเล่นเด็กๆ ก็ยังสามารถซื้อไอเทมหรือสกิลต่างๆ ได้

อายุผู้ใช้งาน : 12 ปีขึ้นไป
วิธีแก้ปัญหา : ดูความเหมาะสมของช่วงอายุว่าเหมาะสมกับเกมหรือไม่ อีกทั้งต้องตั้งค่าทั้งเรื่องการตัดเงินจากแอปฯ การเงินต่างๆ เพราะมิเช่นนั้นจะเหมือนในข่าวได้เลยนะคะ

อ้างอิงจาก : SPOTLIGHT

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เกมล่าสมบัติ ตามหาสมบัติในบ้านกันเถอะ!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save