fbpx

คู่มือคุณแม่! รวมข้อมูลการฝากครรภ์อย่างละเอียด พร้อมขั้นตอนและค่าใช้จ่าย

Writer : Mneeose
: 22 กันยายน 2564

คู่มือคุณแม่! รวมข้อมูลการฝากครรภ์อย่างละเอียด พร้อมขั้นตอนและค่าใช้จ่าย

ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังจะมีน้องกันทุกคนเลยนะคะ! การมีลูกคงมาเติมเต็มความทรงจำดี ๆ ที่ทุกครอบครัวใฝ่ฝัน แต่รู้หรือไม่? ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้ว สิ่งแรกที่ควรทำ นั่นก็คือการไปฝากครรภ์นั่นเองค่ะ

เมื่อต้องไปฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่มือใหม่คงจะประหม่าน่าดูเลยใช่ไหมล่ะ บางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียดและความกังวลขึ้นได้ เพราะไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ขั้นตอนในการตรวจและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไรบ้าง?

วันนี้เราจะช่วยคลายทุกข้อที่คุณแม่สงสัยเกี่ยวกับการฝากครรภ์ด้วยข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการฝากครรภ์อย่างละเอียด อ่านจบเข้าใจได้เลยทันที! จะมีอะไรที่คุณแม่ต้องรู้เอาไว้บ้าง เรารวมคู่มือสำหรับคุณแม่มือใหม่ จบครบทุกขั้นตอนมาไว้ให้แล้วไปดูกันเลยค่ะ

ทำไมคุณแม่ถึงต้อง “ฝากครรภ์” 

เมื่อคุณแม่ตั้งท้องไม่ว่าจะท้องแรกหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ควรเตรียมพร้อมเมื่อมีเจ้าตัวเล็ก อย่างแรกเลยก็คือการฝากครรภ์กับคุณหมอนั่นเองค่ะ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพทั้งของคุณแม่และลูกน้อยให้แข็งแรงปลอดภัยทั้งด้านร่างกายอารมณ์อาหารและสังคม พร้อมให้คำแนะนำการดูแลครรภ์อย่างถูกวิธี

ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหา หรือภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ได้ด้วย หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ การที่คุณแม่ฝากครรภ์กับคุณหมอสามารถช่วยลดความกังวลใจของคุณแม่ได้ และคุณหมอจะได้รักษาคุณแม่และลูกให้ปลอดภัยได้ทันทีหากเกิดอะไรขึ้น

 

เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรฝากครรภ์? 

การฝากครรภ์คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าตัวเองเริ่มตั้งครรภ์แล้ว เพื่อวางแผนการมีลูกอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีประวัติการป่วยเป็นโรคเรื้อรังชนิดต่าง ๆ หรือจะฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ก็ได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญ คือ ควรฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกกำลังจะสร้างอวัยวะต่าง ๆ

ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง ตลอดระยะการตั้งครรภ์ โดยที่คุณหมอจะนัดตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด

และแน่นอนว่า หากคุณแม่เกิดอาการป่วย หรือต้องทานยาเม็ดเป็นประจำ ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกน้อยในครรภ์มากที่สุดนั่นเอง ดังนั้น คุณพ่อจึงควรใส่ใจดูแลคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นพิเศษค่ะ เพื่อลดความตึงเครียดจากปัจจัยต่าง ๆ ลง

ฝากครรภ์ที่ไหนดีที่สุด และขั้นตอนการฝากครรภ์ที่คุณแม่ควรรู้

ฝากครรภ์ที่ไหนดีที่สุด?

คุณแม่ควรเลือกฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คลินิกใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงาน เพราะเดินทางสะดวก และประหยัดเวลามากกว่า เนื่องจากคุณหมอต้องนัดให้ไปตรวจหลายครั้ง และเผื่อในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน คุณแม่ก็จะได้รับการรักษาจากคุณหมอได้ทันท่วงที เพราะมีประวัติการตรวจบันทึกไว้อยู่แล้ว ยิ่งทำให้สะดวก และรวดเร็วเข้าไปอีก

แต่หากเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ไกลเกินไป เมื่อคุณแม่เริ่มท้องแก่ อาจจะทำให้มีปัญหาในการเดินทางได้ ซึ่งสถานที่ฝากครรภ์กับโรงพยาบาลที่คลอดไม่จำเป็นต้องเป็นที่เดียวกันก็ได้ค่ะ

 

3 สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเมื่อไป “ฝากครรภ์” 

  • บัตรประชาชนของคุณแม่ และคุณพ่อ
  • ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว การแท้งบุตร ประวัติความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม
  • การมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

 

ขั้นตอนการฝากครรภ์ครั้งแรก

ฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่มือใหม่ต้องตรวจอะไรบ้าง

เมื่อเราไปฝากครรภ์ครั้งแรก สิ่งแรกที่คุณหมอจะทำ ก็คือ การซักประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และประมาณการกำหนดวันคลอด

หลังจากนั้น คุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย และสุขภาพครรภ์ของคุณแม่มือใหม่อย่างละเอียด โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจปัสสาวะ 

เพื่อดูปริมาณน้ำตาลและโปรตีน เพราะสามารถเช็กได้ว่าเป็นโรคเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือมีความเสี่ยงที่ครรภ์จะเป็นพิษหรือไม่?

2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

เพื่อดูว่าคลอดลูกยากหรือง่าย? ได้สัดส่วนกับขนาดของลูกไหม? น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มตามเกณฑ์หรือไม่?

3. ตรวจเลือดที่ข้อพับ

เพื่อตรวจหาโรคบางชนิด เช่น ธาลัสซีเมีย ไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน และเอดส์

4. วัดความดันโลหิต 

เพื่อให้ทราบภาวะความดันโลหิตของคุณแม่ท้อง เช่น สูงหรือต่ำเกินไปหรือไม่ จะได้แนะนำแนวทางการดูแลอย่างถูกต้อง ค่าความดันปกติจะอยู่ที่ 120/70 มิลลิเมตรปรอท และหากวัดค่าได้เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

5. ตรวจทางหน้าท้อง หรืออัลตราซาวด์

เพื่อประเมินว่าคุณแม่สามารถคลอดลูกเองได้หรือไม่? โดยประมาณขนาด และน้ำหนักของทารกในครรภ์ ดูท่าทางของทารกว่าอยู่ในท่าใด? ส่วนนำเป็นศีรษะหรือไม่? 

6. ฟังเสียงหัวใจและปอด

เพื่อตรวจการทำงานของหัวและปอดขณะตั้งครรภ์ให้เป็นปกติ

7. ตรวจหน้าท้อง และขนาดของมดลูก

เพื่อตรวจขนาดหน้าท้อง หรือระดับของมดลูกว่าสัมพันธ์กับอายุครรภ์หรือไม่ รวมทั้งตรวจหาก้อนเนื้อที่อาจเกิดขึ้น

เมื่อตรวจทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะได้รับวิตามิน หรือยาบำรุงร่างกาย พร้อมกลับมาตรวจตามที่คุณหมอนัดทุกไตรมาส เพียงเท่านี้ คุณแม่ก็มั่นใจได้เลยว่า เจ้าตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์จะเเข็งแรง และปลอดภัยแน่นอนค่ะ

 

คลอดลูก 1 คน! คุณแม่มีค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์อะไรบ้าง? 

ค่าใช้จ่ายและแพ็คเกจคลอดลูกหลังฝากครรภ์

ก่อนที่คุณแม่จะไปฝากครรภ์ ย่อมต้องประมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในแต่ละครั้ง เพื่อวางแผนค่าใช้จ่ายให้รัดกุม และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการคลอดลูก โดยแบ่งเป็นฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกพิเศษ ซึ่งเรทราคาก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับงบของคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ

งั้นเราไปดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจ่ายในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งจะมีอะไรกันบ้าง? ไปดูกัน

ค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลรัฐบาล 

  • ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก (รวมค่าตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ค่าแพทย์ และอื่น ๆ) ประมาณ 1,500 บาท
  • ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 80 – 300 บาท
  • ค่ายาตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
  • ค่าอัลตราซาวด์ ครั้งละประมาณ 500 บาท
  • ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
  • ค่าคลอด กรณีคลอดธรรมชาติ ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท
  • ค่าคลอด กรณีผ่าตัดคลอด ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ราคานี้รวมค่าห้องแล้ว โดยราคาห้องมีตั้งแต่ 500 – 3,000 บาท สำหรับจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4 – 5 วัน

หมายเหตุ : ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณมีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

ค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลเอกชน 

  • ค่าตรวจ ค่าฝากครรภ์ และค่าอื่น ๆ ส่วนมากจะเป็นแพ็กเกจเหมาจ่าย โดยครอบคลุมการตรวจทั้งหมด และแบ่งชำระเป็นงวด ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งบางแห่งรวมการฝากครรภ์ไว้กับแพ็กเกจคลอดด้วยก็มีส่วนค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มต้นที่ 20,000 – 50,000++ บาท
  • ค่าคลอด กรณีคลอดธรรมชาติ ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
  • ค่าคลอด กรณีผ่าตัดคลอด ประมาณ 60,000 – 100,000 บาท (ส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้วในแพ็กเกจ) หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4 – 5 วันเช่นกัน

หมายเหตุ : ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณมีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

ค่าใช้จ่ายคลินิกพิเศษ 

สำหรับคุณแม่ที่ฝากครรภ์ที่คลินิกพิเศษ ราคาจะขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิก โดยส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ฝากครรภ์ครั้งแรก : ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ และรับยาบำรุง ราคาประมาณ 2,500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งต่อ ๆ ไป : ตรวจอัลตราซาวด์ และรับยาบำรุง ราคาประมาณ 1,300 – 1,500 บาท
  • อัลตราซาวด์ 2 มิติ ราคา 1,000.-
  • อัลตราซาวด์ 4 มิติ ราคา 2,500

หมายเหตุ : ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

 

Q&A คลายทุกข้อสงสัย! ประสบการณ์ฝากครรภ์ของคุณแม่มือใหม่ 

คลายทุกข้อสงสัย ประสบการณ์ฝากครรภ์ของคุณแม่มือใหม่

คุณแม่หลายคนอาจกำลังรู้สึกกังวลใจ และมีคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์มากมาย ทั้งขั้นตอนและการเตรียมตัวต่าง ๆ แต่ไม่รู้ว่าต้องถามใครดี? เราลองมาฟังคำแนะนำจากคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์การฝากครรภ์มาบอกเล่าสู่กันฟังกัน!

1. คุณแม่มือใหม่ ควรเริ่มฝากท้องตอนกี่เดือน? 

สำหรับคุณแม่มือใหม่ ถ้าจะให้ดีเลยคือ ควรเริ่มฝากครรภ์ทันที หลังจากที่เริ่มรู้ตัวเองแล้วว่าตัวเองตั้งท้อง เพื่อที่คุณแม่จะได้เตรียมความพร้อม และให้แพทย์ได้วางแผนการดูแลลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งเช็กสุขภาพร่างกาย และสุขภาพใจของคุณแม่ด้วย

และแน่นอนว่า คุณหมอพร้อมที่จะให้คำแนะนำทั้งคุณแม่และลูก เพื่อให้มีการวางแผนถึงอนาคตต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ทันก็อย่าให้อายุครรภ์เกิน 3 เดือนนั่นเองค่ะ

2. ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน หรือคลินิกดีกว่ากัน? 

ไม่จำกัดว่าต้องเป็นที่ไหน แต่ขอให้เป็นสถานที่ที่คุณพ่อคุณแม่เดินทางสะดวก ใกล้บ้าน หรือใกล้ที่ทำงานก็พอ และขึ้นอยู่กับงบประมาณของครอบครัวว่าต้องการ หรือชอบห้องแบบไหนมากกว่ากัน

3. ฝากครรภ์กับคลอด ต้องเป็นโรงพยาบาลเดียวกันหรือไม่? 

ไม่จำเป็นต้องเป็นที่เดียวกัน เช่น คุณแม่สามารถฝากครรภ์ไว้ที่คลินิกแถวบ้านได้ เพราะเดินทางสะดวกมากกว่าต้องมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และสามารถส่งตัวมาคลอดที่โรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนได้เช่นกัน

แต่ถ้าเป็นที่เดียวกันจะดีกว่า เพราะคุณหมอจะมีประวัติการรักษา การตรวจเช็กสภาพร่างกายของคุณแม่ และเด็กในครรภ์มาก่อนแล้ว นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะเริ่มคุ้นเคยกับคุณหมอไปแล้ว ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่ายเกิดขึ้นมากกว่า

4. ฝากครรภ์ที่คลินิก สามารถคลอดที่โรงพยาบาลไหนได้บ้าง? 

คุณแม่สามารถเลือกได้ว่าจะคลอดกับคุณหมอของคลินิกที่ประจำอยู่ตามโรงพยาบาลชั้นนำต่าง ๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชน หรือจะคลอดที่โรงพยาบาลที่คุณแม่สะดวกที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ โดยนำประวัติทั้งหมดไปยื่นที่โรงพยาบาลนั้น ๆ นั่นเองค่ะ

5. ฝากครรภ์ธรรมดา VS ฝากครรภ์แบบพิเศษ ต่างกันอย่างไร?

  • การฝากครรภ์แบบธรรมดา : คุณแม่จะไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้คุณหมอคนไหนทำคลอดให้ได้ ส่วนใหญ่จึงคลอดกับหมอเวร
  • การฝากครรภ์แบบพิเศษ : คุณแม่สามารถเลือกคุณหมอให้มาเป็นผู้ทำคลอดได้ทุกเวลา เรียกว่า ได้คลอดกับคุณหมอที่ฝากท้องนั่นเอง ซึ่งข้อดี ก็คือ คุณแม่จะได้เจอคุณหมอที่คุ้นเคยกันดี และไม่เกิดอาการเกร็ง หรือกลัวจนเกินไปยังไงล่ะ

ขั้นตอนการฝากครรภ์ สำหรับที่สุดสำหรับคุณแม่

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ คงจะคลายข้อสงสัยกันไปได้บ้างแล้ว สำหรับข้อมูลของการฝากครรภ์ที่เรานำมาฝากคุณแม่มือใหม่แบบครบถ้วน รู้แล้วใช่ไหมล่ะ! ว่าการฝากครรภ์นั้นดีต่อตัวของคุณแม่ และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดเจ้าตัวเล็กให้ปลอดภัยและแข็งแรงสมบูรณ์

เพราะฉะนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องการฝากครรภ์เด็ดขาด ที่สำคัญ คือ คุณแม่ต้องหันมาใส่ใจการกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คิดเรื่องการมีลูกมากจนเกินไป เพราะอาจเกิดเป็นความเครียด และความกดดันขึ้นได้

ที่สำคัญ อย่าลืม! เตรียมความพร้อมของจิตใจให้เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นด้วยนะคะ เพราะเจ้าตัวเล็กจะมาสร้างความสนุกสนาน และสร้างเสียงหัวเราะให้กับชีวิตของคุณพ่อคุณแม่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

 

ALive Powered by AIA ผู้ช่วยส่วนตัว ดูแลเรื่อง “ครอบครัว” ให้เป็นเรื่องง่าย 

ALive Powered by AIA ผู้ช่วยส่วนตัว ดูแลเรื่องครอบครัวให้เป็นเรื่องง่าย

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการมีลูกสักคนหนึ่ง เพราะไม่เพียงจะต้องดูแลตอนลูกคลอดออกมาแล้ว แต่ช่วงเวลาที่เจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์ก็เป็นช่วงเวลาที่ต้องได้รับการดูแลใส่ใจเช่นกัน จึงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ชินกับการมีลูก และไม่รู้ว่าเมื่อมีลูกแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง?

เราจึงขอแนะนำให้รู้จักกับแอป ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันดี ๆ ที่จะมาเป็นผู้ช่วยส่วนตัวให้กับครอบครัวของคุณ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อยากขอคำปรึกษาจากแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมตั้งครรภ์ โดยเฉพาะวิธีดูแลลูก การเจริญเติบโต รวมไปถึงสุขภาพของคนในครอบครัวได้แบบง่าย ๆ และฟรี แถมยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอื่น ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ลองใช้งานกันด้วยนะ!

เรียกว่าแค่มีแอป ALive Powered by AIA” คุณแม่ก็อุ่นใจได้เเล้วนั่นเอง ยิ่งอยู่ในยุคที่ต้องเว้นระยะห่างแบบนี้ ถือเป็นเรื่องดีที่เราไม่ต้องไปโรงพยาบาลให้ยุ่งยาก และประหยัดค่าเดินทางในการปรึกษาแพทย์ และพยาบาลได้แบบใกล้ชิดด้วยค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่สนใจ อยากโหลดแอป “ALive Powered by AIA” เข้ามาช่วยจัดการ และเป็นโค้ชคุมตารางชีวิต สามารถโหลดได้ที่นี่เลย App store & Google play store

แหล่งอ้างอิง : 

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save