หากพบว่าลูกมีอาการขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น หรืออยู่ไม่นิ่ง โรคสมาธิสั้นในเด็กอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคุณแม่อีกต่อไป เมื่อนพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันเด็กมีแนวโน้มสมาธิสั้นกันมากขึ้น จากผลสำรวจล่าสุด ปี 2560 ของกรมสุขภาพจิตในโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ มีเด็กสมาธิสั้น 1,655 คน จากเดิมที่มี 1,294 คนในปี 2558
ด้านพญ.ปวีณา แพพานิช จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมฯ กล่าวว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากกรรมพันธุ์ และลูกมีโอกาสเป็นสมาธิสั้นสูงในแม่ที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา และสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ โดยเด็กจะแสดงอาการก่อนอายุ 7 ปี และพบมากในเด็กผู้ชาย ซึ่งสมาธิสั้นมี 3 กลุ่มอาการ ได้แก่ อาการขาดสมาธิ อาการหุนหันพลันแล่น และซนหรืออยู่ไม่นิ่ง บางคนอาจจะไม่ซนแต่ขาดสมาธิ ทั้งนี้การดูโทรทัศน์หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานๆ ก็ทำให้เด็กขาดสมาธิได้เช่นกัน
อาการสมาธิสั้นสามารถรักษาให้หายได้ โดยวิธีการรักษานั้นมีทั้งการให้ยาควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและพ่อแม่ แต่ถ้าปล่อยปละละเลย เด็กสมาธิสั้นจะมีโอกาสเป็นวัยรุ่นเกเร และต่อต้านสังคมได้มากกว่าเด็กปกติ 3-4 เท่า นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตัวเองจะลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการถูกชักจูงให้ใช้สารเสพติดได้ง่าย
อ้างอิงจาก