fbpx

สังเกตอย่างไร!! อาการผิดปกติเมื่อลูกนอนหลับ

Writer : Mneeose
: 17 พฤษภาคม 2562

การนอนหลับของเด็กทารกเป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นต่อพัฒนาการในการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งหากว่าเด็กทารกนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เด็กนอนไม่หลับ พ่อแม่อย่างเราควรรีบแก้ไขอาการเหล่านั้นของลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ลูกมีร่างกายที่แข็งแรง และพัฒนาการที่สมบูรณ์นั่นเองค่ะ งั้นเราไปดูว่า อาการผิดปกติในการนอนของลูกมีอะไรบ้าง และเราสามารถสังเกตได้อย่างไรดีกว่าค่ะ

1.  ลูกนอนหลับยาก

หากสังเกตได้ว่าลูกเรานั้นมีอาการนอนหลับยาก เช่น นอนไม่เป็นเวลา , พานอนแล้วลูกยังตื่นขึ้นมาเล่น ไม่ยอมนอนง่ายๆ รวมทั้งหลับในเวลาที่ไม่ควรหลับ อาจมีสาเหตุมาจากการเล่นก่อนนอนของลูก ที่ใครหลายๆ คนชอบเข้าใจผิดว่า หากให้ลูกเล่นตอนตื่นเยอะๆ เมื่อให้ลูกนอนลูกจะหลับปุ๋ยแบบสนิท ซึ่งเหตุผลนี้อาจได้ผลกับเด็กบางคน เพราะบางคนยิ่งเล่น เขาก็ยิ่งชอบ จนไม่อยากนอนหลับนั่นเองค่ะ

อีกสาเหตุหนึ่ง ก็คือ เกิดจากคุณพ่อคุณแม่ชอบสร้างเงื่อนไขในการนอนหลับของลูกมาตั้งแต่แรก เช่น ก่อนนอน ต้องอุ้มลูกให้หลับบนบ่าแล้วโยกไปโยกมาก่อนนะ ลูกถึงจะนอนหลับได้สนิท ลูกน้อยจึงจำได้ว่าต้องมีคนมาอุ้มก่อนจึงจะหลับได้ ส่งผลให้ลูกน้อยหลับได้ยากนั่นเองค่ะ

วิธีแก้หากลูกนอนหลับยาก เช่น การมีตุ๊กตาตัวโปรด หรือที่พ่อแม่ชอบเรียกว่า น้องเน่า อยู่ข้างกายลูกนั่นเอง เพราะลูกจะชินกับกลิ่นของตุ๊กตาที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าอบอุ่น และหอมนั่นเองค่ะ

 

2. นอนหายใจทางปาก

โดยปกติเด็กควรจะหายใจทางจมูกเป็นหลัก เมื่อในที่นอนอ้าปากหายใจ แสดงว่ามีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะโพรงจมูก ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กมากๆ หากเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น อาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้นั่นเองค่ะ

วิธีแก้เบื้องต้น คือ ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ

3. สำลักระหว่างนอน

เด็กวันทารกมักจะมีน้ำลายมากในปากอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะมีอาการสำลักน้ำลายตัวเองระหว่างนอน จนทำให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเราๆ ตื่นกันกลางดึกก็มีกันมาแล้ว สำหรับการสำลักน้ำลายในระหว่างการนอนพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยทางการนอนที่มักทำให้สำลักน้ำลาย คือ ท่านอนหงาย ดังนั้น ในระหว่างคืน ควรช่วยจัดท่านอนตะแคงให้เด็กจะลดอาการดังกล่าวลงได้ค่ะ

4. นอนละเมอ หรือ เดินละเมอ

อาการลูกเดินละเมอ (Sleepwalking in Children) เป็นความผิดปกติของการหลับในกลุ่มอาการละเมอ เด็กที่มีอาการเดินละเมอจะลุกขึ้นในช่วงคลื่นสมองทำงานช้าลง และทำให้เกิดการรับรู้ที่ช้าลงด้วย ซึ่งมันจะอันตรายมาก หากลูกเกิดการเดินละเมอ ลุกขึ้นเดินแบบไม่รู้ตัว ทำให้สามารถเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

การละเมอมีอยู่กลายแบบ เช่น การละเมอพูด ซึ่งพบได้มากที่สุดพบได้ประมาณ 50% ของเด็กระหว่างอายุ 3 – 13 ปี , ละเมอเดิน พบได้ทั้งละเมอเดิน และละเมอทำพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ละเมอไปปัสสาวะในตู้เสื้อผ้า ละเมอเดินออกไปนอกบ้าน และบางคนอาจถึงขั้นละเมอแล้วส่งเสียงกรีดร้อง หรือไปถือของมีคมก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ

วิธีแก้เมื่อลูกเกิดอาการละเมอ นั่นคือ อย่าให้ลูกนอนเตียง 2 ชั้น เพราะอาจเกิดการพลัดตกขึ้นได้ และควรล็อกประตูบ้านให้แน่นหนา รวมทั้งเก็บของมีคมไว้ให้มิดชิด ที่สำคัญ ในระหว่างวันอย่าให้ลูกเหนื่อยจนเกินไป หรืออย่าให้อดนอน เป็นไปได้ควรให้เด็กได้มีเวลานอนพักตอนกลางวัน เพราะการอดนอนจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการนอนละเมอมากขึ้น หากเด็เกิดการละเมอแล้วพ่อแม่อยู่ตรงนั้น ควรปลุกเด็กให้ตื่นขึ้นเลยนั่นเองค่ะ

 

5. ฝันร้าย

ฝันร้าย มักเกิดขึ้นในช่วงที่เรานอนหลับ แต่สมองยังทำงานอยู่ เมื่อเจอกับฝันร้ายเด็ก ๆ จะตกใจและร้องเรียกหาคุณพ่อคุณแม่ ทั้งนี้ เด็ก ๆ จะตื่นเต็มที่ ทั้งยังมีสติและรู้ตัวอยู่ หากคุณเรียกก็สามารถสนองตอบ หรือตอบโต้ได้ตามปกตินั่นเอง ซึ่งบางครั้งเด็กๆ มักจะชอบฝันร้าย เมื่อตัวเองรับข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาคิดมาก เเล้วเก็บไปฝันนั่นเองค่ะ

เมื่อลูกนอนฝันร้าย คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพียงแค่ปลอบลูกว่า มันไม่มีอะไร หรือจะพูดว่า “ฝันร้ายหรอลูก? ไม่เป็นไรแล้วนะ เดี๋ยวมันจะกลายเป็นดีเอง”

 

6. นอนกรน

การที่ทารกมีอาการนอนกรน ส่วนใหญ่เกิดจากระบบทางเดินหายใจของเด็ก ซึ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนที่ทำให้เกิดเสียงกรน คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นอันตราย แต่ที่จริงแล้วเป็นอันตรายของลูกอย่างมาก เพราะจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อพัฒนาการของลูก เสี่ยงต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น , พฤติกรรมก้าวร้าว , เรียนรู้ช้า และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีการแก้ไขเมื่อลูกนอนกรน นั่นคือ ให้ปรับเวลาการนอนของลูก ให้นอนเป็นเวลา พร้อมกับออกกำลังกายเป็นประจำ ถ้าเด็กมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับเด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอการกรนลง ในรายที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์ทันทีค่ะ

 

7. กลั้นหายใจตอนนอน

อาการกลั้นหายใจตอนนอน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นในขณะหลับ จนทำให้เกิดการขาดออกซิเจนระหว่างการนอน ทำให้การนอนหลับไม่สมบูรณ์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ห้ามเพิกเฉยเด็ดขาด เพราะการรบกวนระหว่างการนอนนี้ ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์

ทางที่ดีหากเกิดอาการกลั้นหายใจตอนนอนกับลูกขึ้น ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดนั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  สำหรับอาการที่ผิดปกติในการนอนหลับของลูก ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเผลอละเลยไป อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างมากเลยใช่ไหมล่ะ ยังไงก็เราก็ต้องคอยตรวจสอบ สังเกต และดูแลอาการเหล่านี้ดีๆ นะคะ หากพบต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้เชียว

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง :  mamypoko
theasianparent
mahidol

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
7  วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save