fbpx

ทำความรู้จักกับ 9 โรคกลัว (Phobia) ที่หลายคนเป็นและหลายคนอาจจะไม่รู้

Writer : buubae
: 19 กันยายน 2561

ความกลัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกๆ วัย แต่ความกลัวในระดับ Phobia ถือเป็นอีกอย่างที่ควรให้ความสนใจและระมัดระวังด้วย ซึ่ง Phobia จะแบ่งหลักๆ ได้ 2 แบบคือ โรคกลัวแบบจำเพาะ ที่จะมีอาการกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ สิ่งของ รวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมักจะเกิดในวัยเด็กถึงวัยรุ่นและจะเบาลงเมื่อโตขึ้นไป ส่วนอีกแบบคือ โรคกลัวแบบซับซ้อน ซึ่งมักจะเกิดในผู้ใหญ่ และเกิดจากการเจอเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรงจนฝั่งใจ

วันนี้เราจะมาดูดีกว่าว่า โรคกลัว หรือ Phobia ที่หลายๆ คนเป็นส่วนใหญ่มีชื่อเรียกว่าอะไรกันบ้าง เราลองมาดูกันดีกว่า และเมื่ออ่านเสร็จแล้วอยากให้ทำความเข้าใจในเรื่องของอาการต่างๆ ของโรคกลัวแต่ละอย่าง และที่สำคัญอย่าใช้ไปแกล้งคนอื่นนะ ด้วยความปราถนาดีจ้า

Acrophobia โรคกลัวความสูง

คนที่เป็นจะมีอาการวิตกกังวล ตัวสั่น เหงื่อออก ขาแข้งอ่อนแรง หรือขาแข็งไม่สามารถขยับไปไหนได้ เวลาที่อยู่ในที่ที่มีความสูงมากๆ หรือ การเดินขึ้นลงบันไดที่มีความสูงมากๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ปกติได้

Zoophobia โรคกลัวสัตว์

สำหรับ Zoophobia หรือ โรคกลัวสัตว์นั่น คนที่เป็นมักจะมีอาการกังวลหรือกลัวมากกว่าปกติ เวลาที่เจอสัตว์ประเภทต่างๆ ที่กลัว ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว แมงมุม งู แมลงสาบ หรือแม้กระทั่งสัตว์เล็กๆ น่ารักๆ ในสายตาหลายๆ คน แต่คนที่เป็น phobia ประเภทนี้ก็กลัวได้ เพราะฉะนั้นควรจะระมัดระวังด้วยนะ เพราะสัตว์ที่เราคิดว่าไม่น่ากลัว แต่บางคนอาจจะกลัวก็ได้ 🙂

Brontophobia  โรคกลัวฟ้าร้องฟ้าผ่า

เป็นอาการกลัวมากจนผิดปกติเวลาเห็นหรือได้ยินฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ตอนฝนฟ้าคะนอง ซึ่งโดยปกติแล้วคนทั่วไปก็อาจจะมีอาการกลัวบ้างเล็กน้อยตามปกติ แต่กับบางคนอาจจะเป็นเยอะมากๆ ควรดูแลและเอาใจใส่ไม่ให้อาการกลัวหนักขึ้นจ้า

Schoolphobia โรคกลัวโรงเรียน

หรือภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน (school refusal)” เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่รู้สึกกลัวการไปโรงเรียน โดยอาจจะเกิดจากการที่เด็กๆ มีความวิตกกังวลเมื่อไปโรงเรียน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกอย่างงั้น เกิดขึ้นเพราะเด็กได้พบกับสถานการณ์ หรือ เหตุการณ์แย่ๆ ระหว่างที่อยู่โรงเรียน จนทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวลในการไปโรงเรียนแต่ละครั้ง และจะพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจนทำให้เด็กปฏิเสธการไปโรงเรียนไปเลย

หากเด็กๆ เกิดภาวะนี้แล้ว ผู้ปกครองควรหาทางแก้ไขให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำ เพราะอาจจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ในอนาคต หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำ

Claustrophobia โรคกลัวที่แคบ

คนที่เป็นโรคกลัวที่แคบ มักจะมีอาการวิตกกังวลเวลาที่อยู่ในสถานที่แคบๆ หรือ สถานการณ์ที่รู้สึกว่าหนีไม่ได้ อยู่คนเดียวในช่องเล็กๆ ไม่ได้ อยู่แล้วรู้สึกอึดอัด เช่น อยู่ในลิฟต์แออัด อยู่ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง หรือแม้กระทั่งการนั่งโดยสารรถหรือเครื่องบินในตำแหน่งที่อยู่ข้างในสุด และมีผู้โดยสารคนอื่นล้อมรอบก็จะเกิดอาการเช่นกัน

ซึ่งอาการนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด แต่อาจจะเริ่มพบในช่วงเด็กหรือวัยรุ่นนั่นเอง (ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และสถานการณ์ที่เด็กๆ ได้พบเจอ)

Aerophobia โรคกลัวการบิน

มักจะเกิดกับคนที่โดยสารด้วยเครื่องบิน จะวิตกกังวลไปต่างๆ นานา ระหว่างที่โดยสารเครื่องบิน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดมาจากประสบการณ์การบินที่ทำให้ตัวเองกลัวระดับที่ว่าฝั่งใจ ทำให้การโดยสารเครื่องบินเป็นเรื่องยากและน่ากลัวไปตลอดเลย

Blood-Injection-Injury Phobias โรคกลัวเลือด

เป็นอีกหนึ่งอาการกลัวที่หลายๆ คนมักจะเป็น คืออาการกลัวเลือด ไม่ว่าจะน้อยแค่ไหนก็ตาม คนที่กลัวมักเกิดอาการหมดเรียวแรง ตัวอ่อน และบางคนก็เป็นลมไปเลยก็มี และบางคนอาจจะมีอาการกลัวเข็มเพิ่มขึ้นมาด้วย

Socialphobia โรคกลัวสังคม

คนที่เป็นโรคกลัวสังคมมักจะมีอาการวิตกกังวลกับสิ่งที่ตัวเองทำว่าจะทำตัวเองอาย เปิ่น เด๋อด๋า และกลัวว่าตัวเองจะถูกวิพากย์วิจารณ์ในสังคม ทำให้ตัวเองเริ่มปิดตัว และกลัวสังคมไปในที่สุด ซึ่งอาการกลัวสังคมมักจะเกิดได้ชัดในเด็กและวัยรุ่น และอาจจะเป็นหนึ่งในต้นเห็นให้เด็กๆ กลัวการไปโรงเรียนได้ด้วยเช่นกัน

Emetophobia โรคกลัวการอาเจียน

อาการกลัวการอาเจียนมักจะเกิดจากการได้เห็นคนอื่นอาเจียน หรือ อาจจะอาเจียนเอง และเป็นการกระตุ้นทำให้ตัวคนที่เป็นนึกถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือสถานที่ที่ฝั่งใจ จนทำให้อาการกลัวกำเริบก็ได้

ที่มา : pobpad  , pantip  ,  thairath  , mahidol  , kapook.com (1)  , kapook.com (2)

Writer Profile : buubae

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save