Parents One

9 อุบัติเหตุที่มักเกิดกับวัยทารกและวิธีการดูแลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดและเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างในเด็กทารกอุบัติเหตุบางอย่างก็เกิดขึ้นจากความประมาทหรือความซุกซนของลูกเอง วันนี้เราเลยรวบรวมอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในเด็กรวมไปถึงวิธีแก้ไขและการดูแลเบื้องต้นหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ

หายใจไม่ออกจากการนอนคว่ำ

การนอนคว่ำมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกและปากจนขาดอากาศหายใจมากกว่าการนอนหงาย 2-7 เท่าตัว เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังตะแคงหน้าและยกศีรษะไม่เป็น

วิธีแก้ไข :

สามารถจับลูกนอนคว่ำได้บ้าง แต่ทำในเวลาที่เด็กตื่นและต้องมีคนดูแลใกล้ชิด

การสำลัก

ลูกอาจสำลักเข้าไปในหลอดลมขณะที่กำลังดูดหรือกลืนนมและอาหาร ทำให้อาจไปปิดกั้นทางเดินหายใจได้

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

จับเด็กนอนตะแคงให้หัวเด็กต่ำลง ป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อยู่ในปากไหลย้อนกลับไปที่ปอด

การพลัดตกจากที่สูง

เมื่อลูกคว่ำเองได้ การปล่อยไว้ตามลำพังบนที่สูงอย่างโต๊ะ เตียง หรือบันได เมื่อลูกพลิกหรือตะแคงตัวก็อาจทำให้ลูกตกลงมาได้

ควรดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าให้ลูกอยู่ตามลำพังในบริเวณที่มีความเสี่ยง

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

ถ้าตกจากที่ต่ำกว่า 120 ซม. แล้วยังมีสติ ร้องไห้จ้า ก็สามารถพาไปหาหมอได้ด้วยตนเอง

แต่ถ้าตกสูงกว่านั้นแล้วลูกหมดสติ พ่อแม่ควรตั้งสติให้ดี โทรเรียกรถฉุกเฉิน หรือ 1669 อย่าพยายามเขย่าลูก เพราะอาจกระทบกระเทือนได้

กลืนสารพิษ

เมื่อลูกเริ่มคลานได้ ทักจะชอบคลานไปทั่ว รวมถึงหยิบทุกอย่างเข้าปาก โดยสารพิษที่พบบ่อยในบ้าน เช่น ผงซักฟอก น้ำยาขัดห้องน้ำ สบู่ ยาฉีดยุง และถ่านไฟฉาย

เก็บสารพิษไว้ให้ใกล้จากมือเด็ก เก็บไว้ที่สูงหรือในตู้ที่มิดชิด

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

ให้ลูกดื่มนมลงไป 4-5 แก้ว เพื่อช่วยเจือจางสารพิษ จากนั้นรีบพาส่งโรงพยาบาลพร้อมสารพิษที่สูกเผลอกินเข้าไป

แผลพุพองจากความร้อน

เด็กๆ มักจะถูกของร้อนลวกบ่อย เมื่อลูกคลานได้จะรู้จักเกาะยืน ไม่ควรใช้ผ้าปูโต๊ะ เพราะลูกจะเกี่ยวลงมาได้ ยิ่งวางกระติกน้ำร้อนหรือของร้อนไว้ด้วยแล้วยิ่งอันตราย

เก็บของร้อนให้พ้นมือเด็ก

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

ล้างด้วยน้ำธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นเด็ดขาด จากนั้นทายาสำหรับแผลทาน้ำร้อนลวก

จมน้ำ

ส่วนใหญ่เด็กทารกจะจมน้ำจากการอาบน้ำ เช่น เผลอทำลูกหลุดมือขณะอาบน้ำ หรือปล่อยลูกที่นั่งได้แล้วอยู่ในอ่างตามลำพัง ลูกอาจมีโอกาสหน้าคว่ำหรือตัวเอียงลงไปในน้ำได้

อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ในน้ำตามลำพัง

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น :

หากลูกหมดสติ ตัวซีดหรือเขียวคล้ำ ให้ทำ CPR โดยใช้ 2 นิ้วกดบริเวณทรวงอก 30 ครั้ง ผายปอด 2 ครั้ง

อันตรายจากการเลี้ยงดู

เช่น การอุ้มแบบไม่ถูกวิธี คืออุ้มพาดบ่าโดยไม่ประคองช่วงคอและหลัง หรือการเล่นกับเด็กแบบโยนขึ้นสูงๆ ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

วิธีแก้ไข :

ไม่เล่นโยนสูงๆ และอุ้มลูกให้ถูกวิธี

อันตรายจากเครื่องนอน

เบาะ ที่นอน หมอน ฟูก ผ้าห่ม มุ้ง เป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกขาดอากาศหายใจได้ การใช้หมอนหรือผ้าห่มนุ่มๆ หนาๆ ขนาดใหญ่ อาจทำให้หน้าเด็กจมลงไปแล้วกดจมูกหรือปากจนหายใจไม่ออก

วิธีแก้ไข :

เลือกใช้เบาะที่มีความแข็งกำลังดี ใช้ผ้าห่มที่บางหน่อย

อันตรายจากเตียงเด็ก

ส่วนใหญ่เด็กจะตกลงไปที่ช่องว่างระหว่างเตียงกับกำแพง หรือหัวติดกับซี่ราว รวมไปถึงหน้าคว่ำลงที่ช่องระหว่างเบาะกับที่กั้นกันตก

วิธีแก้ไข :

เลือกเตียงเด็กที่ได้มาตรฐาน คือ ซี่กันห่างกันไม่เกิน 6 ซม. เบาะแข็งบางพอดีเตียง

ข้อมูลอ้างอิงจาก