Parents One

รู้จักกับ 8 ทักษะ DQ Program ที่ช่วยให้ลูกฝึกทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล

สังคมของโลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้น เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน คือมีสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่สามารถกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกได้ตลอดเวลา ไม่มีใครรู้ว่า ในอีกโลกหนึ่งลูกของเราจะมีนิสัย หรือพฤติกรรมอย่างไรในการใช้สื่อ Social Media

แต่จะดีแค่ไหน ถ้าลูกของเรารู้จักการใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ และไม่เป็นเหยื่อของโลกที่ถูกสร้างขึ้นมา ด้วยการฝึกนิสัยการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือให้ลูกอย่างสร้างสรรค์ อย่ารอช้า!! เราไปทำความรู้จักกับ 8 ทักษะ DQ Program ที่ช่วยให้ลูกฝึกทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล กันเลยดีกว่าค่ะ

โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ เป็นโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องลูกหลานให้มีความปลอดภัยในการใช้สื่อ Social Media ซึ่งมีเนื้อหาที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมกับเยาวชนอยู่นั่นเอง AIS จึงมีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digitalโดยเน้นสร้างทักษะทาง Digital และ ป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั่นเองค่ะ 

พัฒนาทักษะ และฝึกความฉลาดทางดิจิทัลให้ลูก ด้วย DQ

คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากให้ลูกเล่นโทรศัพท์ หรือใช้สื่อโซเชียลทั้งวัน โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกจะโพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นอะไรบ้างในโลกอีกด้านหนึ่ง ยิ่งอยู่ในยุคสมัยที่ทุกคนคิดว่า “อินเทอร์เน็ต คือ พระเจ้า” ยิ่งทำให้เด็กที่ติดสื่อโซเชียลวางโทรศัพท์กันไม่ลง จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียน และอุปนิสัยที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดตามมา ทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา เกิดความเครียดได้ง่ายเลยล่ะค่ะ

แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกติดสื่อโซเชียลหนักเกินไป จะดีกว่าไหม? ถ้าเรามาช่วยกันฝึกนิสัยการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือให้ลูกอย่างสร้างสรรค์ด้วยชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะ และความฉลาดทางดิจิทัล หรือเรียกง่ายๆ ว่า DQ (Digital Quotient) นั่นเองค่ะ

ซึ่ง DQ Program นั้นเหมาะสำหรับเด็กอายุ 8-12 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีไหวพริบ เมื่อเข้าสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ต รู้จักการวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า ช่วยปลูกจิตสำนึก และเตรียมความพร้อมให้ลูกใช้สื่อโซเชียลอย่างชาญฉลาดนั่นเองค่ะ

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจเข้าร่วม สามารถกดได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ : www.ais.co.th/dq  ที่สำคัญ คือเล่นได้ไม่จำกัดอายุ จะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถวัดความฉลาดทางดิจิทัลได้แน่นอน

DQ Program หรือชุดแบบฝึกทักษะความฉลาดทางดิจิทัล จัดทำโดยทีมงานนักวิชาการจาก Nanyang Technological University ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความเชื่อถือ และถูกนำไปใช้สอนเยาวชนในทุกทวีปทั่วโลกอีกด้วยค่ะ

8 ทักษะทางดิจิทัล(DQ) ที่เด็กควรมี นั่นคือ

โดยตอนนี้ AIS ได้ขยายผลนำองค์ความรู้ DQ สู่กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 กลุ่ม นั่นคือ กลุ่มพ่อแม่ , กลุ่มเด็ก และกลุ่มคุณครูนั่นเองค่ะ

 

สร้างภูมิคุ้มกันการใช้สื่อโซเชียลภายในครอบครัว ด้วย Google Family Link

คงดีไม่ใช่น้อย หากพ่อแม่อย่างเราสามารถควบคุม หรือกำหนดการใช้งานโทรศัพท์ของลูกๆ ได้ทาง Google Account ที่ลูกของเราใช้อยู่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำ ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link (สำหรับลูกค้าทุกเครือข่าย)

ซึ่งเป็นโครงการที่ AIS ได้ร่วมมือกับ Google เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเด็ก และผู้ปกครองให้เข้าถึงกัน และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ตภายในครอบครัวนั่นเองค่ะ

 

AIS Secure Net ตัวช่วยคัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

เด็กสมัยนี้โตไวเข้าไปทุกที บางเรื่องที่เราคิดว่าเขาไม่รู้ แต่ในความจริงแล้ว เขาเเค่แกล้งทำเป็นไม่รู้ก็มีเยอะแยะไปนะคะคุณพ่อคุณแม่ และเราก็ไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเวลาด้วย ดังนั้น การที่เราช่วยกันคัดกรองเนื้อหาในสื่อโซเชียลต่างๆ ก่อนให้ลูกดู น่าจะมีประโยชน์มากกว่าการเตือนด้วยคำพูด เพราะเด็กวัยนี้ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ เขาพร้อมที่จะเปิดรับ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

เราจึงขอแนะนำ “AIS Secure Net” ตัวช่วยป้องกัน และคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสมจากบุตรหลาน ทำให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย หายห่วงเรื่องเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ตไปได้เลยค่ะ 

วิธีการใช้ คือไม่จำเป็นต้องโหลดแอปพลิเคชันใดๆ เพียงแค่เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก  สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562  และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป

 

ป้องกัน Cyberbullying ด้วยการให้เด็กรู้จักคุณค่าในตัวเอง

ในปี 2561 เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ

ซึ่งเป็นปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมให้เด็กรู้จักคุณค่าในตัวเอง และรักตัวเองให้มากขึ้น ซึ่ง “ครอบครัว” คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยหล่อหลอมความคิดให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตนั่นเอง

นอกจากนี้ เรายังสามารถแจ้งเตือนบล็อกแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รวมทั้งสามารถบล็อกไวรัส , มัลแวร์ และฟิชชิ่ง ได้ด้วย AIS Secure Net อีกด้วยค่ะ

 

ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย จงช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้ลูกหลาน

สังคมในปัจจุบัน ถือเป็นสังคมแห่งการแบ่งปันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะสื่อโซเชียลได้เข้ามามีบทบาท และมีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน ครอบครัว จึงถือเป็นเสาหลักของเด็กให้ยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงที่สุด

แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สามารถอยู่กับเด็กได้ตลอดเวลา หน้าที่จึงตกไปเป็นอาชีพของคุณครู และคุณหมอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการปรึกษาปัญหาต่างๆ รวมทั้งดูพฤติกรรมของเด็ก ไม่ให้เขากดเข้าไปดูในสิ่งที่ไม่ควรดู เมื่อยังไม่ถึงเวลา

จะเห็นว่าไม่ใช่ครอบครัวเท่านั้นที่ต้องช่วยกันดูแลเด็กๆ ของเราให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติ และความคิดที่ดี และทุกคนในสังคมต่างก็เป็นตัวแทนที่สามารถดูแลเด็กให้ปลอดภัยจากอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตได้ค่ะ

ดังนั้น การพัฒนาสังคมให้ดีในอนาคตจึงเป็นเรื่องของปัจจุบันที่เราต้องช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้ลูกหลาน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเองค่ะ

#ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย #อุ่นใจCyber

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :   www.ais.co.th/dq
Facebook :  AIS
Website :  ais.co.th