สังคมของโลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้น เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน คือมีสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่มีประโยชน์ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่สามารถกำหนดการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกได้ตลอดเวลา ไม่มีใครรู้ว่า ในอีกโลกหนึ่งลูกของเราจะมีนิสัย หรือพฤติกรรมอย่างไรในการใช้สื่อ Social Media
แต่จะดีแค่ไหน ถ้าลูกของเรารู้จักการใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ และไม่เป็นเหยื่อของโลกที่ถูกสร้างขึ้นมา ด้วยการฝึกนิสัยการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือให้ลูกอย่างสร้างสรรค์ อย่ารอช้า!! เราไปทำความรู้จักกับ 8 ทักษะ DQ Program ที่ช่วยให้ลูกฝึกทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล กันเลยดีกว่าค่ะ
โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” เป็นโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องลูกหลานให้มีความปลอดภัยในการใช้สื่อ Social Media ซึ่งมีเนื้อหาที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมกับเยาวชนอยู่นั่นเอง AIS จึงมีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digitalโดยเน้นสร้างทักษะทาง Digital และ ป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั่นเองค่ะ
พัฒนาทักษะ และฝึกความฉลาดทางดิจิทัลให้ลูก ด้วย DQ
คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากให้ลูกเล่นโทรศัพท์ หรือใช้สื่อโซเชียลทั้งวัน โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าลูกจะโพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นอะไรบ้างในโลกอีกด้านหนึ่ง ยิ่งอยู่ในยุคสมัยที่ทุกคนคิดว่า “อินเทอร์เน็ต คือ พระเจ้า” ยิ่งทำให้เด็กที่ติดสื่อโซเชียลวางโทรศัพท์กันไม่ลง จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียน และอุปนิสัยที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดตามมา ทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา เกิดความเครียดได้ง่ายเลยล่ะค่ะ
แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกติดสื่อโซเชียลหนักเกินไป จะดีกว่าไหม? ถ้าเรามาช่วยกันฝึกนิสัยการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือให้ลูกอย่างสร้างสรรค์ด้วยชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะ และความฉลาดทางดิจิทัล หรือเรียกง่ายๆ ว่า DQ (Digital Quotient) นั่นเองค่ะ
ซึ่ง DQ Program นั้นเหมาะสำหรับเด็กอายุ 8-12 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างมีไหวพริบ เมื่อเข้าสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ต รู้จักการวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า ช่วยปลูกจิตสำนึก และเตรียมความพร้อมให้ลูกใช้สื่อโซเชียลอย่างชาญฉลาดนั่นเองค่ะ
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจเข้าร่วม สามารถกดได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ : www.ais.co.th/dq ที่สำคัญ คือเล่นได้ไม่จำกัดอายุ จะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถวัดความฉลาดทางดิจิทัลได้แน่นอน
DQ Program หรือชุดแบบฝึกทักษะความฉลาดทางดิจิทัล จัดทำโดยทีมงานนักวิชาการจาก Nanyang Technological University ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความเชื่อถือ และถูกนำไปใช้สอนเยาวชนในทุกทวีปทั่วโลกอีกด้วยค่ะ
8 ทักษะทางดิจิทัล(DQ) ที่เด็กควรมี นั่นคือ
- 1. Digital Citizen Identity ตัวจริงออนไลน์
- 2. Privacy Management เข้าใจสิทธิส่วนตัว
- 3. Critical Thinking คิดเป็น
- 4. Digital Footprint รู้ถึงผลที่จะตามมา
- 5. Digital Empathy ใจเขา-ใจเรา
- 6. Cyber Security ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย
- 7. Cyber – bullying ทำอย่างไรเมื่อโดนรังแก
- 8. Screen – Time Management ยับยั้งชั่งใจ
โดยตอนนี้ AIS ได้ขยายผลนำองค์ความรู้ DQ สู่กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 กลุ่ม นั่นคือ กลุ่มพ่อแม่ , กลุ่มเด็ก และกลุ่มคุณครูนั่นเองค่ะ
สร้างภูมิคุ้มกันการใช้สื่อโซเชียลภายในครอบครัว ด้วย Google Family Link
คงดีไม่ใช่น้อย หากพ่อแม่อย่างเราสามารถควบคุม หรือกำหนดการใช้งานโทรศัพท์ของลูกๆ ได้ทาง Google Account ที่ลูกของเราใช้อยู่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำ ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกั
ซึ่งเป็นโครงการที่ AIS ได้ร่วมมือกับ Google เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเด็ก และผู้ปกครองให้เข้าถึงกัน และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้อินเทอร์เน็ตภายในครอบครัวนั่นเองค่ะ
AIS Secure Net ตัวช่วยคัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
เด็กสมัยนี้โตไวเข้าไปทุกที บางเรื่องที่เราคิดว่าเขาไม่รู้ แต่ในความจริงแล้ว เขาเเค่แกล้งทำเป็นไม่รู้ก็มีเยอะแยะไปนะคะคุณพ่อคุณแม่ และเราก็ไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเวลาด้วย ดังนั้น การที่เราช่วยกันคัดกรองเนื้อหาในสื่อโซเชียลต่างๆ ก่อนให้ลูกดู น่าจะมีประโยชน์มากกว่าการเตือนด้วยคำพูด เพราะเด็กวัยนี้ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ เขาพร้อมที่จะเปิดรับ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
เราจึงขอแนะนำ “AIS Secure Net” ตัวช่วยป้องกัน และคัดกรองเนื้
วิธีการใช้ คือไม่จำเป็นต้องโหลดแอปพลิเคชันใดๆ เพียงแค่เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็
ป้องกัน Cyberbullying ด้วยการให้เด็กรู้จักคุณค่าในตัวเอง
ในปี 2561 เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทั
- การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying)
- การเข้าถึงสื่อลามก
- การติดเกม
- การถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้
า
ซึ่งเป็นปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมให้เด็กรู้จักคุณค่าในตัวเอง และรักตัวเองให้มากขึ้น ซึ่ง “ครอบครัว” คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยหล่อหลอมความคิดให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตนั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังสามารถแจ้งเตือนบล็อกแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รวมทั้งสามารถบล็อกไวรัส , มัลแวร์ และฟิชชิ่ง ได้ด้วย AIS Secure Net อีกด้วยค่ะ
ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย จงช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้ลูกหลาน
สังคมในปัจจุบัน ถือเป็นสังคมแห่งการแบ่งปันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะสื่อโซเชียลได้เข้ามามีบทบาท และมีอิทธิพลในการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน ครอบครัว จึงถือเป็นเสาหลักของเด็กให้ยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงที่สุด
แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สามารถอยู่กับเด็กได้ตลอดเวลา หน้าที่จึงตกไปเป็นอาชีพของคุณครู และคุณหมอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการปรึกษาปัญหาต่างๆ รวมทั้งดูพฤติกรรมของเด็ก ไม่ให้เขากดเข้าไปดูในสิ่งที่ไม่ควรดู เมื่อยังไม่ถึงเวลา
จะเห็นว่าไม่ใช่ครอบครัวเท่านั้นที่ต้องช่วยกันดูแลเด็กๆ ของเราให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติ และความคิดที่ดี และทุกคนในสังคมต่างก็เป็นตัวแทนที่สามารถดูแลเด็กให้ปลอดภัยจากอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็
ดังนั้น การพัฒนาสังคมให้ดีในอนาคตจึงเป็นเรื่องของปัจจุบันที่เราต้องช่วยกันสร้างความปลอดภัยให้ลูกหลาน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเองค่ะ
#ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย #อุ่นใจCyber
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.ais.co.th/dq
Facebook : AIS
Website : ais.co.th