fbpx

8 กิจกรรมดีต่อ IQ และ EQ

: 10 เมษายน 2562

การสร้างสักยภาพ ความสามารถของลูก ควรพัฒนาสมองทั้งสองซีกอย่างสมดุล ไม่เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่ง และวิธีที่เราสามารถทำได้เลยก็คือ การทำกิจกรรมร่วมกันกับลูก:)

ให้โอกาสลูกได้พูด

ช่วง 2-3 ขวบปีแรก คือช่วงที่ลูกจะฝึกกพูด ดังนั้น การเรียบเรียงคำพูดของเขาอาจทำได้ไม่ดีนัก เราก็ไม่ควรเร่งรัดหรือปิดกั้นโอกาส เพียงเพราะไม่เข้าใจสิ่งที่เขาสื่อสาร

  • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ลูกสื่อสาร สรุปสิ่งเขาต้องการพูดกับเราด้วยคำสั้น ๆ เช่น “ใช่อย่างนี้หรือเปล่าลูก” เพื่อลูกจะได้เรียนรู้การพูดที่ถูกต้อง และชมลูก เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้เขากล้าพูดกับเรา เช่น “แม่ชอบฟังหนูพูดนะ” “เสียงของหนูน่าฟังมากเลย”
  • หากลูกไม่ชอบพูด เวลาพูดกับเขาใช้คำถามนำทาง เพื่อให้เขาพูดหรือเล่าให้เราฟัง เช่น หลังจากเล่านิทานเสร็จ
    “ลูกชอบตัวละครตัวไหนที่สุด” “หนูลองเล่านิทานที่ฟังให้แม่ฟังบ้างได้ไหม” อย่างนี้หรือเปล่าลูก”

ชวนลูกสังเกต

สิ่งที่เขาสัมผัสกับโลกภายนอกตั้งแต่เกิด คือการฟัง การดู การดม การสัมผัส จนเมื่อเขาอายุ 3-6 ปี ลูกจะสังเกตและแยกแยะสิ่งของต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กทุกๆ คน จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะชวนลูกสังเกต

  • สอนลูกสังเกตให้เป็นลำดับ เช่น เวลามองดูต้นไม้ ให้เขามองจากล่างขึ้นไปหาบบน หรือจากบนลงล่าง และต่อด้วยคำถามว่า “ข้างบนมีอะไร แล้วตรงกลางล่ะมีอะไร”
  • ชี้แนะลูกว่า ควรเริ่มสังเกตจากตรงไหน มีรายละเอียดเป็นอย่างไร เพื่อให้การสังเกตของเขาเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจับประเด็น ได้แม่นยำ

เคลื่อนไหวร่างกาย ไปตามจังหวะ

กล้ามเนื้อแต่ละส่วนมีเซลล์ประสาทเชื่อมโยงไปสู่สมอง การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้มีความรู้สึกนึกคิดที่ว่องไวและสมบูรณ์มากขึ้น ควบคู่ไปกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

  • ชวนลูกออกกำลังกายนอกบ้าน เช่น ขี่จักรยาน วิ่งเล่น ไปรู้จักเพื่อนๆ ทำกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
  • เลือกกิจกรรมตามความสนใจของลูก ทำให้การออกกำลังกายของเขาเป็นเรื่องสนุก

สร้างการจดจำด้วยคำพูดซ้ำ ๆ

ความจำจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ยิ่งรับรู้มากเท่าใด ความจำก็ยิ่งแม่น เราจึงต้องฝึกให้ลูกฟังซ้ำ ๆ และพูดซ้ำ ๆ เพื่อกระตุ้นความจำ

  • ฝึกลูกพูดคำศัพท์หรือประโยคง่าย ๆ ซ้ำ ๆ ทำเป็นประจำบ่อย ๆ จะช่วยให้ลูกจดจำได้แม่นยำขึ้น
  • สมองของมนุษย์จดจำได้หลายด้าน อาจจดจำตำราเรียนไม่เก่งแต่จดจำตัวโน้ต ตัวเลขได้ดี โดยเฉพาะเมื่อเด็กแสดงความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมองจะจดจำได้เที่ยงตรงและแม่นยำขึ้น

ชวนนับ สัมพันธ์กับตัวเลข

ในเด็กเล็กยังมีสมาธิไม่มากพอจะเรียนรู้เรื่องตัวเลข การบังคับหรือตำหนิจะทำให้เขารู้สึกแย่ เกิดแรงต่อต้าน จึงไม่ควรใจร้อนสอนเขา แต่ค่อย ๆ สอนผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ใช้การนับของและการเล่นเกมสร้างทัศนคติเรื่องตัวเลข

  • สอนเรียนรู้เรื่องตัวเลข เรื่องจำนวน จากเรื่องราวในชีวิตประจำวันง่าย ๆ เช่น หยิบขนมให้ลูกทีละชิ้น พร้อมกับพูดไปด้วย เช่น “หนึ่งชิ้น สองชิ้น สามชิ้น” หรือเวลาเดินลงบันได ก็นับไปพร้อมกัน เป็นต้น
  • เมื่อถึงวัยที่ลูกโตพอจะฝึกบวกลบแบบง่าย ๆ อาจชวนกันเล่นบทบาทสมมติ ให้เขาเป็นคนขาย (พ่อแม่เป็นลูกค้า) เก็บเงิน ทอนเงิน รับรองว่า สนุกมากกว่าการท่องจำตัวเลขแน่นอนค่ะ

ศิลปะพาเพลิน

การส่งเสริมจินตนาการที่เป็นไปตามวัย ด้วยกิจกรรมศิลปะตั้งแต่การปั้น การวาดรูประบายสี การพับการแปะ การติดหรือประดิษฐ์ประดอย จะช่วยดึงจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ และยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัวไปด้วยค่ะ

  • ทำกิจกรรมศิลปะไปกับลูก จะช่วยฝึกสมาธิและพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ช่วยให้ประสาทสัมผัสระหว่างมือและสายตาทำงานประสานกัน
  • ลูกสามารถเรียนรู้ศิลปะได้ในทุก ๆ ที่ เช่น ไปพิพิธภัณฑ์ โรงละคร แล้วอย่าลืมต่อยอดความคิดด้วยการพูดคุยหรือตั้งคำถามไปด้วยกันกับลูกนะคะ

สัมผัสประสบการณ์ใหม่

เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับความอยากรู้อยากเห็น ใช้ทุกประสาทสัมผัสรับรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ที่เขาได้รับจะทำให้สมองดูดซับข้อมูลเอาไว้ เราจึงต้องสร้างกิจกรรม เพื่อให้เขารับรู้และเรียนรู้ได้หลากหลาย

  • นำขวดแบบต่าง ๆ เช่น ขวดแก้ว ขวดไม้ ขวดพลาสติกให้เขาลองสัมผัส สังเกตว่าความแตกต่าง หรือเคาะขวดน้ำให้เขาฟังเสียง ว่าเป็นเสียงขวดแก้วหรือขวดพลาสติก เป็นต้น ​
  • เด็ก ๆ จะหมดความสนใจที่จะทดลองหรือหาคำตอบ เมื่อรู้สึกว่าจินตนาการถูกจำกัด เราจึงต้องปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง มากกว่าการบอกเขาว่า “ต้องทำแบบนี้ ……”

การนอนที่มีคุณภาพ

การนอนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ของเด็ก ถ้าเขานอนหลับมากพอ เมื่อตื่นนอนก็จะมีกำลังมากพอเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในตอนกลางวันได้ดี ตรงกันข้าม ถ้านอนหลับไม่ดีพอ ความรู้สึกทางอารมณ์ การตอบสนองของสมองก็จะเชื่องช้า ไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้อะไรได้ดีนัก

  • ปล่อยให้เขาได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ในช่วงเวลากลางวัน เพื่อเมื่อถึงเวลาเข้านอน เขาจะได้นอนได้ง่ายขึ้น
  • ให้เขามีความคุนชินกับการเข้านอน โดยจัดสรรเวลาอย่างเหมาะสม เช่น 1 ทุ่มเล่น /2 ทุ่มอาบน้ำ และ 3 ทุ่ม ฟังนิทานเข้านอน
Writer Profile : Tuk LittleMonster

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



สิ่งที่จะทำให้ฉันมีความสุข
ชีวิตครอบครัว
15 สิ่งดีๆ ที่พ่อทำเพื่อแม่ได้
ชีวิตครอบครัว
Emotions รู้ทันอารมณ์ต่างๆ ของลูก
ช่วงวัยของเด็ก
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save