fbpx

7 วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก

Writer : OttChan
: 3 มกราคม 2563

ปัญหาที่ไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องพบเจอคือการทานยากของเด็กวัยกำลังโต ยิ่งพึ่งหย่านมแม่ใหม่ๆ ช่วงวัย 1 – 3 ขวบ จะมีอาการเรียกร้องหานมอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมทานอาหารชนิดอื่นซึ่งจริงๆ อาการดังกล่าวมีที่มาที่ไปเสมอ ไม่ใช่ว่าจู่ๆเด็กจะไม่อยากทานนะคะ

ดังนั้น เราจะมาทราบสาเหตุไปพร้อมๆกับวิธีการแก้ไขไปด้วยกันค่ะ!

สาเหตุที่เด็กทานยาก, ทานน้อย

  • ไม่รู้สึกหิวเพราะทานนมหรือขนมมาก่อนแล้วซึ่งหลายๆ บ้านอาจจะเป็น เมื่อเห็นลูกร้องอยากกินขนมหรือนมก็จะรีบหามาให้ทานเพราะกลัวหิว ทำให้อาหารมื้อหลักในแต่ละวันไม่ได้รับความสนใจ
  • มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่นการเปิดการ์ตูนหรืออยู่ในบรรยากาศที่มีของล่อตาล่อใจเยอะ อาทิของเล่นรึเพื่อนฝูง ทำให้ลูกไม่มีสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับมื้ออาหาร
  • อาหารมีรสชาติไม่ถูกปากจนทำให้เกิดความทรงจำในมื้อแรกไม่ค่อยดีนัก มื้อถัดๆ ไปจึงเริ่มต่อต้านการทานมากขึ้น
  • ถูกบังคับให้ทานมากเกินไปจนรู้สึกการทานข้าวไม่ใช่เรื่องสนุก พอถึงเวลาที่จะต้องรับประทานอาหารจึงทำให้รู้สึกเป็นช่วงเวลาแสนน่าเบื่อ ไม่อยากให้ความร่วมมือ
  • รู้สึกได้รับความสนใจเวลาที่มีผู้ใหญ่คอยตาม คอยให้ความเอาใส่ใจ พยายามป้อนอยู่ตลอดเวลาจึงได้ใจ ไม่ยอมกินเพื่อให้เอาใจอยู่เรื่อยๆ

 

วิธีที่ 1 จัดระเบียบขนม, นมให้เป็นเวลา

แน่นอนว่าปัญหาแรกของการให้ลูกทานข้าว เขาจะต้องรู้สึกหิวก่อนจึงเริ่มทาน ดังนั้นการให้ขนมหรือนมตลอดเวลาที่ลูกร้องขอจึงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทำให้เด็กไม่มีความสนใจในอาหารมื้อหลักและเฝ้ารอแต่เวลาที่จะได้นใหรือขนมหรือเพื่อดื่ม, เคี้ยวตลอดทั้งวัน คุณพ่อคุณแม่ขึงจะต้องกำหนดเวลาที่ชัดเจนเช่น

  • ไม่ดื่มนมหรือให้ทานขนมในช่วงใกล้มื้ออาหาร
  • ควรมีเวลาที่แน่นอนในการให้นมหรือขนมเพื่อให้ลูกรู้ว่าแต่ละวันเขาจะได้ทานเพียงช่วงเวลานี้เท่านั้น เป้นการฝึกระเบียบไปในตัว
  • ใจแข็งต่อการร้องขอแม้ว่าจะงอแงเพียงไรก็ต้องอดทน ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถฝึกให้ลูกทานอาหารในมื้อได้

 

วิธีที่ 2 ให้ลูกมีสมาธิกับการทาน

บ่อยครั้งที่เรามักจะแก้ปัญหาให้ลูกนั่งทานข้าวโดยการเปิดการ์ตุนหรือใช้ของเล่นหลอกล่อเพื่อให้เขาได้ทานให้มากหรือได้สัก 2-3 คำก็ยังดี การแก้ไขเช่นนี้จะช่วยให้ได้ผลเพียงระยะสั้นๆ แต่ลูกจะเริ่มเรียนรู้และสุดท้ายก็มีแต่ฟังคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องสรรหาวิธีใหม่ๆ เข้ามาจัดการหรือสิ่งน่าสนใจใหม่ๆ มาล่อให้มองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือนำของเล่นและหน้าจอออกไปให้หมดระหว่างทางรวมถึงบรรยากาศนั้นควรเป็นห้องที่ไร้สิ่งรบกวน, ล่อตาล่อใจ ให้ลูกได้ใช้เวลาอยู่กับจานข้าวที่เขาต้องรับผิดชอบ

เพราะถ้าลูกได้มีสมาธิแล้วกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติแล้ว ระเบียบวินัยในวัยเด็กก็จะเริ่มต้นขึ้น

วิธีที่ 3 หยุดป้อนและให้ลูกทานเอง

อาจจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรเพราะหากไม่ป้อนแล้วจะยอมทานได้อย่างไร แต่ในทางกลับกันเด็กวัยเริ่มโต จะเป็นช่วงที่เขาอยากแสดงความสามารถที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่หรือญาติยังตามป้อนจะทำให้เกิดการต่อต้านได้ง่ายรวมไปถึงการฝึกความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำได้ก็จะน้อยตามลงไปด้วย ดังนั้นจึงควรเริ่มฝึกทั้งตัวผู้ปกครองและเด็กดังนี้

  • บอกปากเปล่าเพียงครั้งสองครั้งในการทาน ไม่บังคับหรือพยายามจ่อปากป้อน
  • เมื่อเห็นว่าไม่ยอมทานและถึงเวลาต้องเก็บโต๊ะแล้วเก็บทันทีแม้ว่าจะไม่หมดจานเพื่อให้ลูกรู้ว่าเขาต้องทานอาหารในเวลาที่กำหนด
  • มีข้อตกลงร่วมกันกับทั้งภายในครอบครัวและญาติพี่น้องว่าจะใช้มาตรการนี้ อย่าป้อนหรือหาอะไรให้ทานหากเด็กร้องว่าหิวในเวลาที่ไม่ใช่เวลาทานข้าว ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะยังคงมีต่อไป
  • ทานเองแล้วเลอะเทอะไม่ตำหนิติเตียน แต่อาศัยค่อยๆ สอนวิธีทานที่ถูกต้องเพราะหากเด็กได้รับการสอนหรือการเรียนรู้วิธีการทานที่ถูกต้อง เด็กจะรู้สึกสนุกไปกับการทานมากขึ้น

วิธีที่ 4 จับเวลาในการทาน

มีบ้างที่เห็นว่าลูกทานได้น้อยก็มักจะปล่อยเวลาให้เขาได้อยู่กับการทานจนเวลาผ่านมาเป็นชั่วโมง ข้าวก็ยังไม่หมดจานก็จะยังไม่ยอมให้ลุก ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากเสียเวลาทั้งตัวผู้ปกครองแล้ว ยิ่งทำให้ลูกรู้สึกการทานข้าวช่างน่าเบื่อหน่ายและไม่ใช่ช่วงเวลาที่ต้องการเสียเวลาด้วยแม้แต่น้อย

ดังนั้น เวลาที่ดีที่สุดในการทานคือไม่เกิน 30 นาที เมื่อถึงเวลาแล้วให้ทำการเก็บจานข้าวและให้ลูกรอทานอาหารในมื้อถัดไปแทน ไม่มีนมหรือขนมเผื่อไว้ให้เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ทานมื้อนี้ก็ไม่เป็นไร มีขนมมีนมเนยรอไว้ เช่นนั้นแล้ว จำกัดเวลาในการทานรวมไปภถึงควบคุมการทานของว่างของจุกจิกไปควบคู่กัน จะทำให้เห็นผลยิ่งขึ้น

 

วิธีที่ 5 ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร

เด็กวัยเล็กเป็นวัยเลียนแบบและชอบการเรียนรู้ในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ การพาเข้าครัวให้เห็นขั้นตอนในการทำอาหารหรือได้มีส่วนช่วยอาทิ การล้างผัก, เตรียมของหรือจัดจาน จะช่วยให้เขารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหารกับครอบครัวและยอมทานอาหารที่ได้ลงมือช่วยมากขึ้น ดีไม่ดี ลูกอาจจะได้ค้นพบความชอบตัวเองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำอาหารด้วยก็เป็นได้

 

วิธีที่ 6 ชมเชยและสร้างบรรยากาศดีๆ ในการทาน

สิ่งที่มาควบคู่กับการเลี้ยงลูกเชิงบวกคือสอนแต่ทัศนคติดีๆ ให้แก่เขา หากสิ่งที่ถูกทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี พ่อแม่ก็ควรจะชมให้มากเพื่อให้ลูกได้มีกำลังใจต่อไปในการทำสิ่งต่างๆ และเรื่องการทานเองก็เป็นหนึ่งในความสามารถเริ่มต้นที่เด็กทุกคนต้องฝึกฝน หากลูกทานผักได้แล้วหรือสามารถทานข้าวได้หมดจานก็ควรออกปากชมให้มากเพื่อให้เขาได้มีกำลังใจที่จะทานและรู้สึกดีทุกครั้งที่ถึงเวลาทานข้าว บรรยากาศดีๆบนโต๊ะอาหารสร้างได้ง่ายมาก หากเราพูดคุยถึงแต่สิ่งดีๆ และสร้างสรรค์

วิธีที่ 7 เป็นแบบอย่างที่ดีในการทาน

อย่าลืมว่ากระจกสะท้อนตัวตนของลูกก็คือการกระทำของตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เมื่อทุกคนอยู่บนโต๊ะอาหาร ก็ควรทานอาหารและใช้เวลาอยู่กับการทาน ไม่ควรหยิบมือถือหรือเปิดโทรทัศน์ดูควบคู่ไประหว่างทางในช่วงที่ลูกกำลังอยู่ในวัยเลียนแบบเรา เพราะเด็กนั้นยังแยกแยะไม่ได้ว่าแบบไหนเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่ได้ เขาจดจำเพียงพ่อและแม่ของเขาทำ เขาจึงทำตามบ้าง ดังนั้นทุกครั้งที่มีการทานอาหาร ต้องทานเป็นแบบอย่างก่อนจะช่วยควบคุมการทานของลูกได้มาก อาทิ

  • การลองรับประทานอาหารชนิดใหม่ตามเพราะเห็นว่าทานได้
  • การใช้ช้อน, ส้อมที่ถูกต้องตามพ่อแม่
  • ฝึกการเคี้ยวและกลืน
  • เกิดความสัมพันธ์ดีๆ ขึ้นระหว่างพ่อแม่และลูกบนโต๊ะอาหาร

 

ที่มา : SpoiledPediatrician , sikarins-momclub

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save