fbpx

พัฒนาลูกให้ครบตามประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้าน

Writer : Mookky TCN
: 22 ตุลาคม 2560

เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้านผสานกัน ถ้าคุณพ่อคุณเเม่อยากฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่เก่ง ก็ควรฝึกลูกน้อยตั้งเเต่เเรกเกิดไปจนถึงประมาณ 3 ปี เพราะเป็นช่วงที่สมองเด็กพัฒนาเยอะ เรามาดูกันดีกว่าประสาทสัมผัส 7 ด้านมีอะไรบ้าง เเล้วจะพัฒนาผ่านกิจกรรมอะไรได้บ้างนะ

1. การมองเห็น

เด็กๆ จะพัฒนาด้านการมองเห็นด้วยการกะระยะ การแยกเเยะความต่างของสิ่งรอบตัว
การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • เล่นจ๊ะเอ๋
  • ให้มองกระจกเงา
  • เเต่งห้องนอนให้สว่าง
  • เล่นกับไฟฉาย (เด็กจะสนใจการมองตามเเสงไฟ)
  • ให้เล่นของเล่นสีสันสดใส

วัยเรียน
เกมฝึกสายตา เช่น เกมจับคู่ภาพ เกมหาจุดต่างในภาพ

2. การสัมผัส

การรับรู้ด้านการสัมผัสพัฒนาได้ง่ายกว่าด้านอื่น เพราะเด็กทุกช่วงวัยจะมีการเล่น หยิบจับสิ่งของ อยู่เเล้ว

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • พ่อเเม่สัมผัสลูกผ่านการอุ้ม
  • อาบน้ำให้ลูกโดยใช้ฟองน้ำถูตัว
  • นวดตัวให้ลูก

วัยเรียน 

  • เล่นปั้นดินน้ำมัน
  • เล่นทราย
  • สัมผัสพื้นหญ้า

3. การฟัง

ประสาทสัมผัสด้านนี้ถูกพัฒนาขึ้นตั้งเเต่ลูกยังเป็นเด็กทารก ซึ่งถ้าพัฒนาดีๆ ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีด้วย

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ฟังเสียงธรรมชาติ
  • พูดคุยกับลูกบ่อยๆ
  • เล่นของเล่นที่มีเสียงกับลูก (กรุ๋งกริ๋ง)

วัยเรียน 

  • ให้เล่นดนตรี
  • ให้ลองฟังเสียงสัตว์เเล้วบอกว่าเป็นตัวอะไร
  • ให้ลองจับคู่เสียงที่เหมือน

4. การรับกลิ่น

การรับรู้กลิ่นก็คือการรับรู้สัมผัสทางอากาศ ซึ่งคุณพ่อคุณเเม่ควรให้ลูกดมกลิ่นหลายๆ แบบ

การฝึกฝน

วัยทารก
กอดลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกจำกลิ่นพ่อเเม่ได้

วัยเรียน
เล่นปิดตาดมกลิ่นเเล้วทายว่าเป็นกลิ่นอะไร เช่น กลิ่นมะนาว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร ฯลฯ

5. การรับรส

พัฒนาการด้านนี้เป็นการฝึกให้รับรู้เเละเเยกเเยะรสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ซึ่งเด็กๆ เริ่มต้นมาจากการรับรู้รสชาติของน้ำนมเเม่

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ดื่มนมเเม่
  • ทานอาหารรสชาติอ่อน

วัยเรียน 

  • ทานอาหารรสชาติหลากหลาย
  • ทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อน-เย็น

6. การทรงตัว

การทรงตัวถือเป็นอีกด้านที่สำคัญ เพราะเป็นการฝึกระบบการเคลื่อนไหวเลย การฝึกฝนส่วนใหญ่ควรเป็นกิจกรรมที่ให้ขยับเยอะๆ

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • นั่งบนลกบอลใหญ่ๆ
  • นอนในเปลญวณ
  • นั่งทรงตัวตรงๆ
  • ลองให้ลูกโยก ซ้าย,ขวา,หน้า,หลัง

วัยเรียน 

  • ปั่นจักรยาน
  • กระโดด
  • ยืนขาเดียวบนกระดานทรงตัว
  • นั่งชิงช้า
  • เต้น
  • ตีลังกา

7. การรับความรู้สึก ของส่วนต่างๆ ในร่างกาย

การรับรู้ส่วนต่างๆ ในร่างกายช่วยให้เด็กๆ รู้จักตัวเองดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวได้ไม่ติดขัด มั่นใจ กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ฝึก กลิ้ง คืบ คลาน เเละเดิน
  • ให้เอื้อมหยิบของเล่น

วัยเรียน
ให้เล่นเล่นปีนป่าย ห้อยโหน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ

กิจกรรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาเส้นใยประสาทในสมองของเด็ก ช่วยให้เรียนรู้ได้ดี โดยใยประสาทที่ได้รับการพัฒนาจะคงอยู่ ส่วนใยประสาทที่ไม่ถูกพัฒนาก็จะหายไปตอนช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี ถ้าได้รับการฝึกฝนพัฒนาอย่างดีก็จะเป็นพื่นฐานให้เด็กใช้ชีวิตอย่างมีความสุขค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก – foremostomega

 

 

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
7 ข้อคิดจากการดูการ์ตูน Finding Nemo
ชีวิตครอบครัว
Emotions รู้ทันอารมณ์ต่างๆ ของลูก
ช่วงวัยของเด็ก
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save