fbpx

6 คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับการว่ายน้ำของเด็กทารก

Writer : nunzmoko
: 19 กรกฏาคม 2560

การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กทารกวัยแรกเกิดถึง 2 ขวบ ซึ่งอยู่ในช่วงที่กล้ามเนื้อและสมองมีการพัฒนาสูงสุด การออกกำลังกายจึงมีความสำคัญอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจจะกังวลว่าเด็กเล็กสามารถว่ายน้ำได้จริงมั้ย อันตรายรึเปล่า วันนี้เราจะไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการว่ายน้ำของเด็กทารกกันค่ะ

1. เด็กทารกว่ายน้ำได้มั้ย?

จริงๆ เด็กทารกคุ้นเคยกับการอยู่ในน้ำตั้งแต่ในครรภ์ที่มีน้ำคร่ำล้อมรอบอยู่ ซึ่งการฝึกว่ายน้ำให้เด็กทารกในปัจจุบันมีความแพร่หลายอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ เพราะมีการวิจัยพบว่าการฝึกเด็กทารกว่ายน้ำช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองและร่างกายได้ครบทุกส่วน

2. อายุเท่าไหร่ถึงว่ายได้?

สามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 3-4 เดือน หรือเมื่อเด็กพร้อม โดยให้ใช้ห่วงยางสวมศีรษะของทารกเพื่อช่วยพยุงตัว ทารกสามารถลอยตัวหรือเดินในน้ำได้โดยไม่ต้องฝึก แต่วัยที่เหมาะกับการฝึกว่ายน้ำคือ 1 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดี มีพัฒนาการด้านภาษา สามารถเข้าใจการสื่อสารของพ่อแม่ในขณะฝึกได้ค่ะ

3. สระน้ำแบบไหนดี?

สระน้ำที่เหมาะกับเด็กเล็กคือ สระน้ำระบบน้ำเกลือหรือสระน้ำระบบโอโซน ไม่ควรให้เด็กเล็กเล่นน้ำในสระระบบคลอรีนเพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองและแสบตาได้ และควรเลือกสระที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส

  • สระน้ำระบบเกลือ เป็นระบบควบคุมความสะอาดของน้ำด้วยเกลือธรรมชาติ มีค่า ph balance ในสระใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติของคน
  • สระน้ำระบบโอโซน เป็นระบบที่เอาก๊าซโอโซนมาบำบัดน้ำในสระ มีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ในเวลาอันสั้นและไม่มีสารเคมีตกค้าง

4. เด็กทารกดำน้ำได้มั้ย?

คำตอบคือ เด็กทารกสามารถดำน้ำได้ค่ะ เพราะเด็กทารกมีรีเฟล็กซ์การดำน้ำ (Diving Reflex) เด็กในวัยนี้สามารถกลั้นหายใจและลืมตาในน้ำได้ในเวลาเดียวกันในช่วงขณะหนึ่ง โดยไม่สำลักน้ำ แต่ข้อควรระวังคือห้ามฝึกลูกให้ดำน้ำเองโดยเด็ดขาด การฝึกดำน้ำในเด็กเล็กควรอยู่ภายใต้ความดูแลอย่างใกล้ชิดจากครูฝึกที่มีความเชี่ยวชาญ

5. ว่ายได้นานแค่ไหนและเวลาไหนที่ควรว่าย?

ในการลงน้ำครั้งแรกๆ ควรใช้เวลาฝึกแค่เพียง 10-15 นาที เพราะเป็นช่วงที่ทารกออกแรงมาก ครั้งต่อๆ ไปสามารถให้ลูกฝึกได้นานขึ้นประมาณ 20-30 นาที และควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพราะเป็นช่วงที่แดดค่อนข้างร้อน แต่จะให้ดีคือฝึกว่ายในที่ร่มจะดีกว่าค่ะ

6. ทำไมถึงควรให้ลูกว่ายน้ำ?

• กระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญา เนื่องจากร่างกายเคลื่อนที่ทำให้สมองถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีพัฒนาการสมองที่รวดเร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำ

• ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ ทำให้เด็กอารมณ์ดี ร่าเริง เพราะอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมช่วยลดอาการหงุดหงิด ขี้โมโหของเด็กให้ผ่อนคลายลง มีความสุขและมีสมาธิมากขึ้น

• ส่งเสริมพัฒนาการร่างกายและกล้ามเนื้อทุกส่วน การออกกำลังกายในน้ำจะใช้พลังมากกว่าบนบกถึง 4 เท่า จึงถือเป็นการบริหารกล้ามเนื้อทุกส่วน ทำให้สามารถนั่ง คลาน ตั้งไข่ ยืน เดินได้เร็วและมั่นคง

• ช่วยให้เจริญอาหาร หลับง่าย หลับลึกขึ้น เนื่องจากการว่ายน้ำต้องใช้พลังมาก ส่งผลให้เด็กอยากอาหารมากขึ้นและเมื่อถึงเวลานอน ก็จะหลับง่าย หลับลึก จึงเป็นตัวกระตุ้นโกรทฮอร์โมน ทำให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง

• เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว การเรียนว่ายน้ำในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่จะคอยทำหน้าที่ฝึกลูก ให้กำลังใจลูก เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและสนุกไปพร้อมกับลูก สร้างความอบอุ่น และทำให้เด็กรู้สึกถึงปลอดภัยอีกด้วยค่ะ

รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ลองหาเวลาพาลูกไปว่ายน้ำดูนะคะ เพราะประโยชน์ที่มากมายแล้ว การว่ายน้ำยังเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว สร้างความสุข ความสนุกสนาน ทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจและปลอดภัย มีผลให้ลูกๆ มีความเชื่อมั่นและเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

  • ที่มา – cetaphil
  • ที่มา – rakluke
  • ภาพจาก – babycenter
Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
31 มกราคม 2562
ทำอย่างไรเมื่อลูกรัก “ติดจอ”
ชีวิตครอบครัว
ของเล่นที่มีขายใน 7-11
ช่วงวัยของเด็ก
10 อันดับหนังที่เหมาะกับเด็ก
กิจกรรมของครอบครัว
5 ข้อควรรู้ก่อนพาลูกน้อยไปว่ายน้ำ
ข้อมูลทางแพทย์
12 ข้อดีจากการให้นมแม่
เตรียมตัวเป็นแม่
เริ่มให้ลูกฝึกปั่นจักรยานตอนไหนดี?
กิจกรรมของครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save