fbpx

6 สิ่งที่พ่อแม่ห้ามทำ เมื่อลูกเจ็บป่วย

Writer : nunzmoko
: 5 เมษายน 2562

เมื่อลูกรักเจ็บป่วยไม่สบายหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องเกิดความกังวลและพยายามหาวิธีเพื่อรักษาหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับลูก แต่การกระทำบางอย่างอาจส่งผลให้ลูกเจ็บป่วยมากกว่าเดิม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักถึงข้อห้ามต่างๆ ด้วย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุผิดพลาดต่างๆ ที่จะส่งผลต่อลูกรัก ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้นค่ะ

ข้อห้ามเมื่อลูกเจ็บป่วย

1. ห้ามทำตัวเป็นคุณหมอเสียเอง

เมื่อลูกไม่สบาย อย่าจัดยาให้ลูกเอง โดยเฉพาะยาปฏิชีวะที่เหลือจากการเจ็บป่วยครั้งก่อนๆ มาให้ลูกกินอีก เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย เป็นไข้ ควรเช็ดตัวดูอาการไข้ ถ้าอาการไข้ไม่ดีขึ้นควรปรึกษาคุณหมอ หรือให้ลูกกินยาตามคุณหมอสั่งเท่านั้น

2. ห้ามเคลื่อนย้ายลูกขณะที่บาดเจ็บ

อาจจะฟังดูแปลกที่บอกว่าลูกเจ็บแล้วไม่ให้เคลื่อนย้ายไปไหน แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วลูกได้รับบาดเจ็บหรือนอนหมดสติอยู่ คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งรีบร้อนเคลื่อนย้ายลูก เพราะลูกอาจได้รับการกระทบกระเทือนและส่งผลให้ลูกเจ็บหนักกว่าเดิมได้

  • หากลูกยังมีสติ ให้สอบถามว่าลูกรู้สึกเจ็บตรงไหน พร้อมกับสำรวจบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บก่อน จึงเริ่มปฐมพยาบาลหรือเคลื่อนย้ายลูก
  • ถ้าลูกหมดสติ ไม่ควรขยับตัวลูกโดยไม่จำเป็น นอกจากกรณีที่ต้องช่วยหายใจเท่านั้น แล้วรีบขอความช่วยเหลือทันที

3. ห้ามให้ลูกรีบอาเจียนเมื่อลูกกินสารพิษ

เมื่อสงสัยว่าลูกจะกลืนสารพิษเข้าไป ไม่ควรรีบให้ลูกอาเจียนออกมา หากไม่ทราบว่าสารพิษนั้นมีอันตรายแค่ไหน เพราะถ้าลูกอาเจียนออกมาทันที หลอดลม หลอดอาหาร อาจะได้รับบาดเจ็บไปด้วย ควรให้ลูกกินนม หรือน้ำเปล่า และรีบพาลูกไปหาหมอค่ะ

4. ห้ามประคบร้อน

หากลูกบาดเจ็บ เช่น เป็นแผลชนกระแทก หัวโน การที่ใช้ยาหม่องหรือความร้อนประคบบริเวณที่เจ็บบวม เคล็ดขัดยอก บวมช้ำใหม่ๆ จะยิ่งทำให้ยิ่งปวดและบวมมากขึ้น เพราะความร้อนทำให้เลือดไหลเวียนในบริเวณที่บาดเจ็บนั้นมากขึ้นอีก ควรเริ่มต้นจากการประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งสักพัก เพื่อให้เลือดที่ใต้ผิวหนังหยุดไหล จะได้ลดความเจ็บปวดและอาการบวมลง จากนั้นจึงประคบร้อนด้วยผ้าอุ่นจัดเพื่อให้เลือดที่แข็งไม่ตกค้างอยู่ใต้ผิว

5. ห้ามล้วงของจากคอ

เมื่อของติดคอลูก หากเอามือล้วงออกมา อาจทำให้ของนั้นติดลึกเข้าไปอีก หากจะใช้นิ้วล้วงออกมา ต้องแน่ใจจริงๆ ว่าสามารถล้วงออกมาได้ หรือใช้วิธีจับเด็กก้มต่ำ และใช้มือกระแทกด้านหลังแรงๆ สิ่งที่ติดคออยู่จะหลุดออกมา

6. ห้ามทำให้ตุ่มพองแตก

คุณแม่หลายคนพอเห็นลูกมีแผล ตุ่มน้ำ หรือพอง ก็เอาของแหลมมาเจาะ เพราะคิดว่าจะทำให้แห้ง หายเร็ว แต่การเจาะตุ่มน้ำอาจทำให้แผลติดเชื้อได้ ควรให้ตุ่มค่อยๆ แห้งไปเอง แต่หากสงสัยว่าลูกอาจจะเจ็บป่วย ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุเชื้อไวรัสได้

นอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อห้าม ข้อควรระวัง ขณะที่ลูกกำลังป่วย หรือได้รับบาดเจ็บอยู่ด้วย เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยระวังหรือทำอะไรพลาดไป อาจทำให้ลูกน้อยป่วยหรือได้รับบาดเจ็บหนักมากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญคือต้องไม่ชะล่าใจ แม้ไม่มีร่องรอยบาดแผลให้เห็น ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่อยู่ในอันตราย ต้องหมั่นสังเกตอาการลูกว่าผิดปกติหรือไม่ บ่นปวดหัว หรือมีอาการเซื่องซึมหรือเปล่า ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาคุณหมอทันทีค่ะ

ที่มา – rakluke

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เคล็ดลับฝึกลูกให้มีสมาธิ
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
เด็กผู้หญิงโตเร็วกว่าปกติได้อย่างไร ?
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save