fbpx

5 วิธี ลงโทษลูกโดยไม่ต้องลงมือตี

Writer : nunzmoko
: 18 กรกฏาคม 2561

การลงโทษด้วยการตีบ่อยๆ อาจทำให้ลูกกลายเด็กดื้อไม้ ดื้อมือ ต่อต้าน และไม่เชื่อฟังพ่อแม่ได้ แถมยังเป็นการหล่อหลอมให้เด็กซึมซับความรุนแรงและนำไปใช้กับผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นการลงโทษเมื่อลูกทำผิดยังมีหลายวิธีโดยไม่ใช้วิธีการตี การลงโทษ ก็คือการให้ลูกหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กเองและเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมที่ถูกต้อง” มีหลายวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ลงโทษลูกได้ ซึ่งต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่ลูกทำอาจเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นตามช่วงวัยใช่ว่าจะเกิดจากอาการดื้ออาการซนเท่านั้น และจะเลือกใช้วิธีไหน คุณพ่อคุณแม่คงต้องดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกเราเป็นหลักค่ะ

1. ลงโทษลูกด้วยวิธีการแยกให้อยู่ตามลำพัง

การลงโทษลูกด้วยวิธีการแยกให้ลูกอยู่ตามลำพังชั่วคราว Time out ใช้ได้ผลดีในเด็กอายุประมาณ 2-10 ปี เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือต้องการลงโทษ ให้เด็กแยกออกมาอยู่ตามลำพังชั่วคราวเพื่อสงบอารมณ์ โดยมีวิธีการดังนี้

  • เตือนบอกล่วงหน้าว่าจะให้เด็กทำอะไร เช่น “ลูกต้องหยุดขว้างของเล่นเดี๋ยวนี้ แล้วไปนั่งที่เก้าอี้นั่น”
  • หากเด็กไม่ยอมไปนั่งเอง ให้จูงมือหรืออุ้มเด็กไปนั่งที่เก้าอี้หรือจุดสงบที่เตรียมไว้ ในเด็กเล็กๆ อาจจะให้เด็กนั่งที่จุดเดิมก็ได้ แต่ควรเอาสิ่งของอื่นๆ หรือของเล่นออกไปจากบริเวณนั้นด้วย
  • กำหนดเวลาให้เด็กรู้ว่าต้องนั่งสงบนานเท่าไร โดยทั่วไปจะให้นั่งเป็นเวลานานเท่ากับอายุของเด็กเป็นปี แต่ไม่ควรเกิน 10 นาที เช่น เด็กอายุ 3 ปี ให้นั่งนาน 3 นาที เป็นต้น เนื่องจากในเด็กเล็กอาจยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา ควรหานาฬิกาใหญ่ๆ มาตั้งใกล้ๆ และชี้ให้เด็กดูเข็มนาฬิกาแทนว่าต้องนั่งนานเท่าใด
  • ระหว่างให้เด็กนั่งสงบ ไม่ควรให้ความสนใจหรือพูดโต้ตอบกับเด็ก ไม่ควรให้เด็กนั่งอยู่ในบริเวณที่มีของเล่น โทรทัศน์ หรือสิ่งเพลิดเพลินอื่นๆ และไม่ควรขังเด็กในห้องน้ำหรือห้องมืดต่างๆ ด้วย
  • เมื่อหมดเวลาแล้ว ควรให้ความสนใจกับเด็กทันที พูดคุยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สอนให้เด็กรู้ว่าคราวหน้าควรปฏิบัติอย่างไรแทน ไม่ควรใส่อารมณ์หรือพูดยั่วยุให้เด็กโมโหต่อ

2. ลงโทษลูกด้วยวิธีการไม่สนใจ

การลงโทษลูกด้วยวิธีการไม่สนใจหรือเพิกเฉย ใช้เพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ โดยที่พฤติกรรมนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กเอง ต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ เช่น เมื่อเด็กร้องไห้อาละวาดอยู่ที่พื้นเพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่ควรตามใจเด็ก ควร ปล่อยให้เด็กร้องไปเรื่อยๆ และทำเป็นไม่สนใจ แต่อยู่ในสายตาว่าเด็กปลอดภัยดี สักพักเด็กจะหยุดร้องไปเอง เมื่อเด็กหยุดร้องแล้วถึงจะเข้าไปหาเด็ก พูดคุยถึงวิธีแก้ปัญหาหรือชวนทำกิจกรรมอื่นต่อไป แต่ไม่ใช่เข้าไปโอ๋หรือต่อรองกับเด็ก เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าถ้าดื้อหรืออาละวาด จะไม่น่ารักไม่มีใครสนใจค่ะ

3. ลงโทษลูกด้วยวิธีการงดกิจกรรม

การลงโทษลูกด้วยวิธีการงดกิจกรรม เช่น ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จก็อดไปเล่นนอกบ้านกันเพื่อน วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป เนื่องจากเริ่มเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ และรู้จักต่อรองได้มากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ควรหนักแน่นและสอนลูกให้ยึดตามกติกาที่ตั้งไว้ ให้เหตุและผลเพื่ออธิบายให้ลูกเข้าใจ การใช้วิธีทำโทษแบบนี้ ซจะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กที่เข้าใจและใช้เหตุผล มีวินัย และไม่ใช่อารมณ์ในการแก้ปัญหาได้

4. ลงโทษลูกด้วยวิธีการรับผิดชอบสิ่งที่ทำผิด

การลงโทษลูกด้วยวิธีการรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำผิด เช่น เมื่อทำน้ำหกก็ต้องเช็ดด้วยตัวเอง หรือลงโทษด้วยการคัดลายมือ เป็นต้น เป็นวิธีการที่ดีกว่าการลงโทษด้วยการตีลูกซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งเมื่อลูกทำผิดก็อาจแบมือมาให้พ่อแม่ตีโดยลูกจะไม่เข้าใจเลยว่า พ่อแม่ตีไปเพื่ออะไร ดังนั้นพ่อแม่ควรมีกติกาในการลงโทษลูก และไม่ควรใช้คำพูดที่ทำลายความรู้สึกของลูก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกแย่หรือน้อยใจได้

5. ลงโทษด้วยวิธีการตัดสิทธิ์การให้รางวัล

การลงโทษลูกด้วยวิธีการตัดสิทธิ์การให้รางวัล เช่น เมื่อทำผิดจะงดการพาไปเที่ยวหรือไปสถานที่ที่ลูกชอบ งดขนมที่เคยเป็นรางวัลให้ลูก คุณแม่อาจจะมีกฎว่าสามารถทานขนมชนิดนี้ได้เพียงสัปดาห์ละครั้ง ถ้าดื้อ ซน หรือทำผิดก็จะงดรางวัลนี้ เป็นต้น พร้อมกับสอนลูกด้วยว่าทำไมถึงต้องทำแบบนี้ เพื่อให้ลูกเข้าใจแล้วไม่ทำผิดซ้ำอีก

การลงโทษลูกด้วยการปรับพฤติกรรมเด็กได้ผลที่ดีกว่าการลงไม้ลงมือตีลูก ซึ่งนอกจากคุณแม่จะต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กแล้ว ผู้เลี้ยงดูจะต้องให้ความรัก ความเมตตาต่อเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีที่หนักแน่นจริงจัง รู้วิธีการสื่อสารกับเด็กอย่างถูกต้อง อาศัยความร่วมมือของทุกคนในบ้านแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นเด็กที่น่ารัก ไม่สร้างพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ในอนาคตค่ะ

ที่มา – www.rakluke.com

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เด็กวัยเข้าโรงเรียน เด็กวัยเข้าโรงเรียน
9 กรกฏาคม 2561
ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
รวมกิจกรรมดึงลูกออกนอกจออย่างง่ายๆ
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
“Fun English” เกมส์ฝึกภาษาสำหรับเด็ก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
ควรให้ลูกนอนวันละกี่ชั่วโมง?
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save