fbpx

ฝึกลูกจัดการกับอารมณ์ เพื่อสอนให้ลูกเรียนรู้ที่จะเติบโต

Writer : nunzmoko
: 14 มิถุนายน 2562

ความสุข เศร้า เหงา โกรธ มาด้วยกันเสมอ ถ้าเด็กๆ ได้สัมผัสอารมณ์บูดเหล่านั้นด้วยตัวเอง เขาจะเรียนรู้จัดการได้อย่างถูกต้องสมวัย ซึ่งสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กจริงๆ คือ พื้นที่และเวลาค่อยๆ สัมผัสความรู้สึกด้านลบเหล่านั้น เหมือนกับที่พวกเขาต้องกินผัก แปรงฟัน นอนหลับเต็มอิ่ม เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นกับชีวิตมากๆ ไปดูกันค่ะว่าเราจะมีวิธีช่วยลูกจัดการกับอารมณ์ทั้งหมดของตัวเองได้อย่างไรบ้าง

1. บอก “ชื่อ” ความรู้สึก

ให้ลูกพูดออกมาว่า “รู้สึกอย่างไร” หรือ “ต้องการอะไร” เช่น ถ้าลูกนอนอยู่และบอกว่าเหนื่อยจนยอมให้คุณเลือกเสื้อผ้าให้ เป็นโอกาสดีที่คุณจะแนะนำให้เขารู้จักความรู้สึกที่เรียกว่า “หมดแรง”

2. ฝึกให้ลูกหายใจเข้าลึกๆ

ลองให้ลูกหายใจเข้าลึกๆ 3 ครั้ง หรือ นับ 1 ถึง 10 อย่างช้าๆ ช่วยให้เด็กๆ จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้สัก 2-3 ครั้ง หรือ นับ 1-10 อย่างช้าๆ เด็กๆ ได้รับรู้ถึงสัญญาณเตือนจากร่างกายของเขา ไม่ว่าจะเป็น การเกร็งร่างกาย การกัดฟัน หรือ หัวใจที่เต้นแรง ให้บอกกับลูกๆ ว่าร่างกายมีการตอบสนองอย่างไรเมื่อมีอารมณ์โกรธหรือผิดหวัง จากนั้นให้ก็แนะนำให้ด้วยการลองหายใจเข้าลึกๆ อีกครั้งเพื่อตั้งสติ

3. เข้าใจปัญหาและช่วยหาทางออก 

เป็นกองหนุนด้านอารมณ์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า ต่อให้รู้สึกแย่แค่ไหนเขาก็จะผ่านมันไปได้ เช่น บอกเขาว่า ความรู้สึกท้อระหว่างพยายามทำสิ่งใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และลองพูดคุยกับเด็กๆ ถึงไอเดียในการจัดการความรู้สึกตัวเอง ช่วยกันสร้างจุดที่ตัวเขาจะรู้สึกสงบและร่วมกันฝึกทักษะการจัดการอารมณ์บ่อยๆ

4. ให้เวลาสำหรับการที่จะใจเย็นลง

 

ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า ในบางครั้งแม้จะทำตามวิธีจัดการอารมณ์ต่างๆ มาแล้วก็ตาม แต่พวกเขาอาจจะยังรู้สึกโกรธ หรือผิดหวังอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาสำหรับการที่จะใจเย็นลงหรือหันไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ลืมอารมณ์นั้นไปซะ อะไรที่ผ่านแล้วก็ให้ผ่านไป และให้ลองเปลี่ยนการลงโทษเป็นความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของคนอื่นดู

5. หาวิธีสื่อสารใหม่ๆ

การปล่อยให้เด็กๆ บ่นหรือสั่งได้ทุกอย่างตามใจอาจทำให้พวกเขาไม่สนใจอารมณ์บูดๆ ที่เกิดขึ้น ลองสอนวิธีที่จะทำให้เขาสื่อสารความรู้สึกในแบบที่ต่างจากเดิม เช่น อาจถามเขาว่า “หนูคิดว่าควรพูดขอความช่วยเหลือยังไงดีคะ” เป็นต้น

เราในฐานะพ่อแม่ ควรปล่อยให้ลูกได้สัมผัสอารมณ์ด้านลบของตัวเองเพื่อเรียนรู้การจัดการอารมณ์ และลองพูดกับลูกดีๆ การสื่อสารความหมายเดียวกันสามารถใช้คำพูดที่ดีได้ เช่น การจะบอกให้ลูกหยุดร้องไห้ แทนที่จะบอกว่า “หยุดร้องเดี๋ยวนี้” ลองเปลี่ยนเป็น “หนูเศร้าได้ ไม่เป็นไรนะคะ”, “ไหนลองเล่าให้แม่ฟังหน่อยได้ไหม”, “พ่อแม่อยู่ตรงนี้เป็นกำลังใจให้หนูนะ” เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก – Jennifer Underwoodtheasianparent

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7  วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก
ชีวิตครอบครัว
ทำอย่างไรเมื่อลูกรัก “ติดจอ”
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save