fbpx

5 วิธี พาลูกก้าวข้ามภาพเหมารวมทางเพศ สังคมเท่าเทียมเริ่มต้นจากที่บ้าน

Writer : Phitchakon
: 2 มิถุนายน 2565

“เด็กผู้หญิงต้องสุภาพ ใจดี อ่อนหวาน มีความสามารถด้านการทำอาหาร ชอบเย็บปักถักร้อย”

“เด็กผู้ชายต้องแข็งแรง เข้มแข็ง ดุดัน เสียงดัง สนใจเครื่องยนต์กลไล ชอบเล่นกีฬา” 

ผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเป็นคนตลก มีสีสัน และมักทำตัวโดดเด่น 

มองผิวเผินเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องราวแสนธรรมดาเหล่านี้ เป็นเหมือนกรอบล่องหนที่ผู้คนสร้างขึ้นมา ระบุว่าอย่างเหมารวมว่าแต่ละเพศควรจะเป็นอย่างไร จำกัดว่าคนคนหนึ่งควรจะเติบโตไปตามค่านิยมทางสังคมที่ส่งต่อกันมา ทำให้หลายต่อหลายคนไม่กล้าที่จะเป็นตัวเอง เกิดการปิดกั้นโอกาสในการค้นหาตัวตน

รวมถึงทำให้การเลือกปฏิบัติ และร้ายแรงถึงขั้นล้อเลียน รังแกกัน คิดตัดสินคนที่ไม่ตรงตามค่านิยมและบทบาทที่สังคมกำหนดไว้ เห็นไหมคะว่า ความเคยชินเหล่านี้นี่แหละค่ะ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหามากมาย สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้คนมานับไม่ถ้วน ไม่เว้นแม้แต่กับเด็กเล็กๆ ที่ถูกภาพเหมารวมทางเพศทำร้าย และอาจทำร้ายจิตใจใครไปโดยไม่รู้ตัว

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พ่อแม่จะลบล้างอคติเหล่านั้น และเริ่มปลูกฝังความเท่าเทียมให้ลูกน้อยตั้งแต่ยังเด็ก วันนี้ทาง Parents One มีวิธีง่ายๆ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพาลูกน้อยก้าวข้ามผ่านภาพเหมารวมทางเพศ สร้างสรรค์สังคมที่เป็นมิตรกับทุกคนไปด้วยกัน จะมีวิธีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

  • เรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ  

เรื่องของความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้แล้วในยุคนี้ อย่างแรกสุดที่พ่อแม่ควรทำคือการระลึกไว้เสมอว่าลูกสามารถเป็น LGBTQIA+ ได้ เด็กทุกคนล้วนแล้วแต่มีช่วงเวลาที่ตั้งคำถาม ค้นหาตัวตน และนั่นไม่ใช่เรื่องผิดเลยค่ะ พ่อแม่ควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจในอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย  ไม่ลบคำนิยามตัวตน ไม่ยึดติดว่าเขาควรจะโตมาแบบไหน แต่เลือกใส่ใจที่นิสัย บุคลิกภาพ และพัฒนาการตามช่วงวัยมากกว่า 

เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดความไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับในตัวตน เมื่อบ้านไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยอีกต่อไป ลูกอาจหันหลังให้ครอบครัว บางคนอาจมีภาวะซึมเศร้า พึ่งพาสารเสพติด หรือร้ายแรงถึงขั้นมีความคิดฆ่าตัวตายได้ในอนาคต

  • ระวัง! การตลาดแบบแบ่งเพศ 

เคยสังเกตกันบ้างไหมคะว่า มีภาพการเหมารวมทางเพศอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด และบ่อยครั้งเราก็ได้รับอิทธิพลจากภาพเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาอุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีแต่เหล่าคุณแม่เป็นตัวดำเนินเรื่อง ร้านค้าที่จัดแบ่งประเภทของเล่นเป็นโซนเด็กชายและโซนเด็กหญิง หรือเสื้อผ้าเด็กสีอ่อนลายดอกไม้ที่ถูกวางแยกกับเสื้อผ้าสีเข้มลายหุ่นยนต์อย่างชัดเจน

สิ่งที่เราพบเห็นจนชินตาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาพจำว่า สิ่งของบางอย่างเป็นของเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น ทั้งที่ความจริงแล้ว เด็กผู้ชายจะใส่ชุดสีชมพู เล่นตุ๊กตา จะสนใจการแต่งตัวแต่งหน้า ไม่ใช่เรื่องผิด เด็กผู้หญิงจะใส่เสื้อสีฟ้า เล่นหุ่นยนต์ ชอบสะสมโมเดลรถก็ย่อมได้ หรือหากมีความสนใจหลากหลาย อยากลอง อยากเล่น ชอบไปเสียทุกอย่างก็ได้เช่นกัน 

พ่อแม่ควรพาลูกชมสินค้าหลากหลาย สำหรับเด็กในวัยที่โตพอจะระบุความต้องการของตัวเองได้ ก็ควรให้ลองเลือกเองอย่างอิสระ ไม่ปิดกั้นเพราะมีภาพจำของแต่ละเพศมากำหนด โดยพ่อแม่อาจชวนพูดคุยเมื่อเห็นว่าลูกสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ถือเป็นโอกาสที่จะได้ทำความรู้จักลูกเพิ่มมากขึ้นในมุมที่พ่อแม่ไม่เคยรู้มาก่อนอีกด้วย 

  • ระวัง! การใช้คำพูด

พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำตำหนิที่มีการชี้เฉพาะเจาะจงเพศ เช่น ร้องไห้งอแงเหมือนเด็กผู้หญิง เล่นเลอะเทอะเป็นเด็กผู้ชาย หรือเด็กผู้ชายไม่ควรจะทำแบบนั้น เด็กผู้หญิงไม่ควรจะทำแบบนี้ เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกด้านลบต่อเพศนั้นๆ หากจะสอนควรพูดด้วยเหตุและผล บอกเขาว่าควรหรือไม่ควรทำสิ่งนี้เพราะอะไรมากกว่า และอย่าใช้เพศเป็นตัวกำหนดว่าเด็กควรหรือไม่ควรทำอะไร

  • หยุดภาพเหมารวมในบ้าน 

ครอบครัวเป็นสังคมแรกที่เด็กทำความรู้จัก พ่อแม่เป็นตัวอย่างแรกที่เด็กมักจะเฝ้ามองเป็นแบบอย่างเสมอ ฉะนั้น มากกว่าการสอนด้วยคำพูด พ่อแม่ควรแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมผ่านการกระทำ เช่น เรื่องการทำงานบ้าน ทำความสะอาด ไม่ควรจะเป็นหน้าที่ของเพศใดเพศหนึ่ง พ่อแม่อาจลองให้ลูกมีส่วนร่วมกับงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะทำได้ตามช่วงวัย สลับให้ลูกชายและลูกสาวได้ทำงานบ้านอย่างหลากหลาย 

  • สนับสนุนให้เด็กต่างเพศเล่นด้วยกัน    

การกำหนดว่าเด็กผู้หญิงควรจะเล่นกับเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายควรจะเล่นกับเด็กผู้ชายเท่านั้น เลือกชื่นชม หรือต่อว่าเพศใดเพศหนึ่ง กลายเป็นการขีดเส้นแบ่งพรรคแบ่งพวก และปลูกฝังทัศนคติเชิงลบที่มีต่อเพศตรงข้ามให้เด็กๆ 

พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูก มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เข้าร่วมกิจกรรมที่ทุกเพศสามารถทำร่วมกันได้​ ไม่ยึดติดว่าเพศไหนควรทำกิจกรรมอะไร เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างผ่านการเล่น อีกทั้งยังทำให้เด็กๆ ซึ่งมีความหลากหลายทางเพศไม่รู้สึกว่ากำลังกลายเป็นคนที่ไม่เข้าพวก หรือถูกกีดกันออกจากสังคม 

เด็กไม่มีทางรู้ว่าตัวเองจะเติบโตไปแบบไหน เป็นใคร เป็นเพศอะไร การทำลายกรอบการเหมารวมทางเพศจึงมีความสำคัญ​มากๆ ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร ขอเพียงพ่อแม่เคารพในตัวตนและคอยเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เขา ลูกน้อยก็จะสามารถเติบโตเป็นตัวเองได้เต็มที่ มีทัศนคติที่ดีต่อคนรอบตัว เพื่อที่ในอนาคตข้างหน้า ความเท่าเทียมจะเกิดขึ้นในสังคมอย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7 วิธีเลิกแพมเพิสฉบับ Little Monster
ช่วงวัยของเด็ก
Sometime…บางครั้งของลูก
ชีวิตครอบครัว
รอยยิ้ม ที่ไม่มีวันจางหายไป
ชีวิตครอบครัว
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save