เด็กแรกเกิดนั้นบอบบางและป่วยง่ายกว่าเกินกว่าจะที่คาดเดาได้ บางครั้งอาการท้องเสียหรือท้องผูกที่ผู้ใหญ่ขึ้นว่าเป็นเรื่องแสนธรรมดา แต่สำหรับเจ้าตัวน้อยที่พึ่งลืมตามาดูโลกได้ไม่นานนั้น มันอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่จนไม่สามารถมองข้ามได้เลยแม้แต่น้อย
วันนี้เราจะพามารู้จักกับโรคทั้ง 5 ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ในลูกน้อยที่อายุไม่เกินขวบกัน!
เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตอาการของเขาและช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธีค่ะ
ท้องผูก
เป็นอาการพื้นฐานที่ต้องพบเจอในช่วงแรกเกิดคือลูกไม่ยอมถ่ายซึ่งสาเหตุของอาการท้องผูกนั้นเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ
- อุจจาระแข็งเบ่งยากจนทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บตรงทวาร สุดท้ายก็เลือกที่จะกลั้นไว้ไม่ยอมถ่ายออกจนทำให้เกิดปัญหาลำไส้ในที่สุด
- ปมประสาทของลำไส้ไม่ทำงานทำให้ไม่มีการบีบตัว จึงไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้
อาการท้องผูกที่สังเกตได้ของลูก
- เกร็งขา, ไขว่ขาไว้
- ไม่ค่อยยอมกินอะไร
- ท้องแข็ง
- มีเลือดปะปนออกมาตอนอุจจาระ
วิธีการดูแล, การรักษา
- ในกรณีที่ลูกอายุไม่ถึง 6 เดือน ต้องปรับพฤติกรรมการทานของคุณแม่เพราะลูกยังได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียว จึงควรเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกในช่วงการให้นมลูก
- เมื่ออายุเกิน 6 เดือนสามารถรับประทานอาหารชนิดอื่นร่วมได้ ให้ทานผลไม้เพิ่มขึ้น เพื่อให้มีกากใยในการช่วยขับถ่าย,รึอาจผสมน้ำผลไม้ลงในน้ำนมเช่นน้ำแอปเปิ้ลหรือลูกแพร
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น
- แต่หากปัญหาเกินมาจากความผิดปกติของลำไส้ ควรรีบนำพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางแก้ไขที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อลูกน้อย
ลำไส้อักเสบ
อาการนี้มักเกิดการมีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างหนัก ถ่ายติดต่อกันหรืออาจเกิดจากการที่อาหารเป็นพิษ ซึ่งลักษณะที่ทำให้สังเกตได้ว่า ลูกน้อยมีอาการติดเชื้อหรืออาหารเป็นพิษ
- ถ่ายเหลวเป็นน้ำติดต่อกัน, อาจมีเลือดปะปน
- คลื่นไส้, อาเจียน
- มีไข้, น้ำมูกไหล
- ปากแตกปากแห้ง, ขาดน้ำ
- ซึม, ตัวเย็น
วิธีการดูแล, การรักษา
- จิบน้ำให้มากเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย
- หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ในการเลี้ยงลูกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นขวดนม, ภาชนะใส่อาหารรึแม้แต่ของเล่นที่ลูกชอบเอาเข้าปาก
- ล้างมือก่อนสัมผัสหรือให้นมลูกทุกครั้ง
- รีบพาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลที่ถูกต้อง
ลำไส้อักเสบจากการแพ้โปรตีน
บางครั้งกว่าเราจะรู้ว่าลูกนั้นแพ้อะไรก็ต้องใช้เวลาอยู่พักใหญ่ซึ่งอาการลำไส้อักเสบจากการแพ้โปรีตนเองนั้นก็เป็นอีกหนึ่งในอาการที่ต้องจับสังเกตให้ดีเพราะสาเหตุนั้นแตกต่างกับการอักเสบแม้จะมีการถ่ายเหลวหรือถ่ายติดเลือดมีมูกเหมือนแบบปกติก็ตาม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลำไส้อักเสบนั้นเกิดจาก
- กระเพาะไม่สามารถย่อยโปรตีนบางชนิดได้เช่น นม, ถั่ว
วิธีการดูแล, การรักษา
- ตรวจให้พบว่าลูกมีอาการแพ้โปรตีนชนิดใดและงดบริโภค
- หากแพ้โปรตีนเกือบทุกชนิด ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา
ลำไส้กลืนกัน
เป็นอีกหนึ่งในปัญหาที่เสี่ยงพบได้มากในเด็กแรกเกิด ซึ่งสามารถเกิดจากความผิดปกติที่ต่อมน้ำเหลืองตรงปลายล้ำไส้เล็กนั้นใหญ่กว่าที่ควรจึงทำให้เกิดการมุดตัวของลำไส้ในที่สุด
อาการของเด็กที่ลำไส้กลืนกันมีดังนี้
- มีอาการปวดท้อง, กระสับกระส่าย
- ร้องไห้เพราะปวดท้องเป็นพักๆ สังเกตว่าเวลาร้องขาทั้งสองจะชันเข่าขึ้นมา
- อุจจาระสีคล้ำเลือดและมีเมือก
- อาเจียน, อาจมีน้ำดีปะปนออกมาจนเป็นสีเหลือง
- อาจซึมหรือเกิดอาการชัก
วิธีการดูแล, การรักษา
- นำพบแพทย์เพื่อทำการสวนลำไส้ใหญ่
- ในกรณีที่ลำไส้ขาดหรือเน่าแล้วอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อนำส่วนนั้นทิ้งไป
ลำไส้สั้น
เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้แต่เกิดเช่น เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ทันจนบางครั้งแพทย์ก็จำต้องตัดลำไส้ออก, ลำไส้ตีบจนไม่สามารถดูดซึมอาหารได้จึงจำต้องตัดทิ้ง
อาการของเด็กที่มีลำไส้สั้น
- ตัวแคระแกรน, ไม่โต
- ถ่ายเหลวมีแต่น้ำ
วิธีการดูแล, การรักษา
- หากลำไส้นั้นไม่สั้นมาก ยังสามารถรับสารอาหารทางปากและกระเพาะอาหารโดยตรง
- หากสั้นมากจำต้องให้สารอาหารทางเส้นเลือดเพื่อให้ร่างกายได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
- ทำการปลูกลำไส้ให้ในกรณีที่สั้นจนไม่สามารถรับสารอาหารทางใดได้เลย
ที่มา : rakluke , phyathai, pobpad, bangkokhospital