fbpx

5 สิ่ง ที่คุณแม่อย่าทำเมื่อเจ้าตัวแสบอาละวาด

Writer : OttChan
: 8 กรกฏาคม 2562

ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงกรี๊ดของลูก ทุกทีที่เห็นว่ามีพังหรือชำรุดจากมือน้อยๆที่กำลังแสดงความก้าวร้าว

ใจของคนเป็นแม่ก็อยากจะทำให้เขาสงบลงด้วยวิธีต่างๆ แต่หากไม่สามารถจัดการได้ทันใจ ก็มักจะจบลงด้วยมือนี้ที่ตบตีลงไปบนเนื้อนุ่มๆ หรือ ใช้เสียงที่ดังยิ่งกว่าเสียงของลูกที่กำลังกระจองอแง ตวาดตะคอกกลับเพื่อให้รู้จักฟังบ้างกับคนที่มีอำนาจเหนือกว่า

แต่สุดท้ายแล้ว ก็เป็นตัวคุณแม่เองที่ต้องกลับมาผิดหวังกับตนเอง ที่ไม่ได้ใช้เหตุผลมากพอกับการสั่งสอนลูก

ทางParents One จึงจะมาเสนอข้อแนะนำ ” 5 อย่า ” ที่จะช่วยให้คุณแม่ มีมาตรการ การรับมือลูกที่ชอบอาละวาดและหวีดร้องค่ะ

อย่าตี

การตี เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นผลได้เร็วสุดแต่ส่งผลแย่ที่สุดเช่นกัน การตีจะทำให้ลูกรู้สึกกลัวและเจ็บปวดจนยอมสงบ แต่ก็ได้เพียงชั่วครู่ อาการดื้อรั้นต่างๆก็จะยังกลับมาและอาจรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะลูกอาจติดชอบใช้ความรุนแรงจากการที่เราตีเขาบ่อยๆได้ และ ใช้ความรุนแรงนั้นตอบโต้เราหรือผู้อื่นกลับมา

ท่องไว้เสมอว่าทุกครั้งที่เราหวดมือลงไป คือหนึ่งความรู้สึกเจ็บที่ลูกจะจำไปตลอดจนเขาโต ยิ่งซ้ำมากยิ่งเจ็บมาก

เช่นนั้นแล้ว ก่อนจะลงมือให้คิดอย่างถี่ถ้วนว่าโทษนั้น ร้ายแรงจนต้องลงมือเลยหรือเปล่า สามารถพูดคุยและสอนเขาได้ด้วยการวาจาหรือเปลี่ยนเป็นทำโทษแบบอื่นได้หรือไม่

 

อย่าดุด่าด้วยวาจาแรงๆ

การดุ การสั่งสอน เป็นเรื่องปกติที่แม่ต้องคอยบอกลูกเพื่อให้เขารู้จักผิดชอบชั่วดี แต่หากการใช้วาจาที่รุนแรงเกินกว่าจะรับได้ ผลที่ตามมาอาจจะทำให้ทั้งตัวเราและลูกต่างสาดความโกรธใส่กันและทำให้ในท้ายที่สุดก็ไม่ช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้น และบางคำพูดหรือบางประโยคอาจทำให้ลูกเกิดปมในใจไปทั้งชีวิตว่าเขาเป็นเด็กแบบนั้น เป็นเด็กที่ไม่ได้เรื่อง ไม่น่ารัก ทำให้เขารู้สึกไม่ใช่คนสำคัญของใครเพราะแม้แต่แม่ของเขายังต่อว่า

คนเป็นแม่ต้องใจเย็นให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับสถานการณ์เช่น

” หนูงอแงเพราะหนูกำลังโกรธใช่ไหมคะ ”

” หนูกำลังเสียใจอยู่ใช่ไหม ไม่เป็นไรนะคะ ค่อยๆพูดกันก่อน ”

” หนูเป็นคนเก่งใช่ไหมคะ เป็นคนเก่งของแม่ คนเก่งถ้ารู้สึกไม่ดีจะต้องบอกใช่ไหม บอกแม่ได้นะคะ ”

พยายามแสดงให้ลูกรับรู้ว่าเราห่วงใยเขา ต้องการที่จะรู้ว่าทำไมเขาถึงไม่พอใจจนต้องร้องไห้โวยวาย เพราะเมื่อลูกรู้ว่าคุณแม่แสดงความรักต่อเขา อาการต่อต้านก็จะเบาลงไปตามอารมณ์ของลูกที่เย็นลง

 

อย่าเดินหนีไป

การหนีมักเกิดขึ้นได้ ยิ่งได้ยินเสียงที่แผดออกมาด้วยความงอแง บางครั้งก็ทำเอาเราเดินหนีไปจากจุดนั้นเอาเสียดื้อๆเพราะไม่อยากจะรับรู้ ซึ่งการทำเช่นนั้นจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่าเขาถูกทอดทิ้งแล้วจริงๆ ไม่ได้รับความรัก ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ผลของการเมินนี้อาจออกมาได้ทั้ง 2 รูปแบบ

  1. ยอมเงียบเสียงลงแต่ก็จะทำให้ระยะห่างของลูกและพ่อแม่มีมากขึ้น
  2. ร้องไห้และกรีดร้องให้หนักข้อกว่าเดิมเพื่อทำอย่างไรก็ได้ ให้พ่อแม่หันมาสนใจ

ไม่ว่าจะทางไหนก็ไม่ส่งผลดีใดๆ ทั้งกับตัวผู้ปกครองและตัวเด็ก เพราะฉะนั้น เมื่อเขากำลังเรียกร้องความสนใจ ต้องคอยเฝ้าอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ลูกร้องกระจองอแงเพื่อค่อยดูว่ารอบๆนั้นมีอะไรอันตรายรึเปล่า หากลูกลงไปนั่งหรือดิ้นพล่านบนพื้น รอจังหวะที่เขายอมลดอาการดุร้ายลงแล้วจึงค่อยเข้าไปหาด้วยท่าทางเป็นมิตร และ จึงเริ่มพูดคุยด้วยเหตและผล

 

อย่าใช้ของหลอกล่อ

การที่คุณแม่อยากให้ลูกสงบโดยเร็วด้วยการรีบหาของที่เขาต้องการมาให้ เป็นการทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัวเพราะเจ้าตัวดีจะยิ่งติดนิสัย และเรียนรู้ว่าถ้าทำแบบนี้อีกในครั้งถัดๆไป เขาก็จะได้ของที่เขาต้องการ คราวนี้เลยกลายเป็นว่าแม้จะเป็นเพียงของเล็กๆน้อยๆ หรือ การถูกงดถูกห้ามขนมนมเนย ลูกก็จะสามารถเกิดอาการต่อต้านและกรีดร้องออกมาได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม

ดังนั้น เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มงอแงจะเอาสิ่งของต่างๆ ต้องใจแข็งไม่ยอม ปล่อยให้เขาได้ร้องสักพัก ตัวเด็กจะเริ่มรู้เองว่าที่เรียกร้องความสนใจแบบนี้ ใช้ไม่ได้ผล เขาจะหยุดและเบาลง ถึงตอนนั้นคุณแม่จึงค่อยเข้าไปพูดคุยและสอนเขาว่าที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่ไม่ควร

 

อย่าโกหก

การโกหก ไม่ว่าใครก็ไม่อยากถูกหลอกจากคนที่รัก แน่นอนว่ากับเด็กเองก็รู้สึกแบบนั้น ทุกครั้งที่เขาร้องไห้หรืออาละวาด และ ได้รับคำสัญญาจากคุณแม่ว่าจะให้นั่นนี่หรือพาไปนั่นนี่เพื่อขอเพียงให้ยอมเงียบลง แต่แล้วก็ไม่เคยทำตามจริง ยิ่งสะสมคำที่ไม่จริงใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ลูกหมดความเชื่อถือและเชื่อมั่นในตัวคนที่กอดหอมเขาอยู่ทุกวัน จึงควรเปลี่ยนจากแทนที่จะโกหก ให้อาศัยใช้วิธีพูดคุยด้วยความจริง อาทิเช่น

” ของชิ้นนี้ยังแพงเกินไป รอหนูโตกว่านี้แล้วเราค่อยมาซื้อได้ไหมคะ ”

” ตอนนี้คุณแม่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ อีกหนึ่งชั่วโมงให้คุณแม่ใช้แล้วหลังจากนั้นหนูจะได้ใช้หนึ่งชั่วโมง ตกลงไหมคะ ”

” หนูยังไม่ทันกินข้าว กินขนมก่อนจะปวดท้อง ต้องทานข้าวก่อนและตอนนั้นถ้าไม่อิ่ม หนูบอกแม่และเราจะหาร้านขนมทานต่อกันนะคะ ”

ทุกคำพูดนั้น คุณแม่ต้องเชื่อมั่นด้วยว่าเราจะสามารถทำได้อย่างที่ได้สัญญากับลูกไว้ แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยอย่างขนมที่เขาต้องการทานรึการขอเล่นโทรศัพท์มือถือ ก็ต้องยึดมั่นทำตามให้ได้แบบที่เราสัญญากับลูกไว้เพราะคำของคุณแม่คือคำที่มีค่าของเขา ไม่ว่าเราจะพูดอะไร เขาจะจริงใจและจริงจังกับคำสัญญาจากเราเสมอ

เราจึงต้องให้ค่าและจริงจังกับมันเช่นกัน

ที่มา : GenTHE TVbabybbbmaerakluke

 

 

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
รอยยิ้ม ที่ไม่มีวันจางหายไป
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save