fbpx

5 ทักษะที่ควรสอนลูก เพื่อป้องกันการถูกลักพาตัว

Writer : nunzmoko
: 9 พฤษภาคม 2562

หลายครั้งที่เราเห็นข่าวเด็กหาย เด็กถูกลักพาตัว เป็นข่าวที่น่าเศร้าสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่ถูกลักพาตัวจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ตามลำพัง โดยเฉพาะสถานที่ปลอดภัยที่สุดคือ ที่ที่อันตรายที่สุด นั่นหมายความว่า บางทีคนร้ายก่อเหตุหน้าบ้าน ในสนามเด็กเล่นของหมู่บ้าน ตลาดนัดที่เด็กเคยวิ่งเล่น สวนสาธารณะข้างบ้าน ใกล้โรงเรียน ดังนั้นพ่อแม่อย่าชะล่าใจ ไม่ควรปล่อยเด็กวิ่งเล่นตามลำพังเด็ดขาด วันนี้มี 5 ทักษะที่ควรสอนลูกเพื่อป้องกันเด็กถูกลักพาตัวมาฝากกันค่ะ

1. ทักษะการปฎิเสธ

สอนทักษะให้เด็กๆ รู้จักปฎิเสธพ่อ แม่ ผู้ปกครองต้องสอนบ่อยๆ ว่าอย่ารับขนมหรือของเล่นจากคนเเปลกหน้า ที่สำคัญคืออย่าไปไหนกับคนแปลกหน้า ต้องคุยกับเด็กบ่อยๆ ถามกิจวัตรประจำวันของเด็กด้วย บางทีคนร้ายไม่ได้มาครั้งแรก อาจพยายามชักชวนเด็กหลายครั้งจนเด็กเกิดความไว้วางใจแล้วไปกับเขาได้ ต้องพูดคุยถามลูกบ่อยๆ ว่าไปวิ่งเล่นเป็นไง มีเพื่อนใหม่ไหม มีคนมาซื้อขนมให้กินไหม จะได้รู้ความเคลื่อนไหวว่ามีคนร้ายพยายามก่อเหตุลักเด็กไหม จริงๆ แล้วบางครั้งคนก่อเหตุอาจไม่ใช่คนแปลกหน้าก็ได้ อาจเป็นคนในชุมชน เป็นคนที่เด็กรู้จักและคุ้นเคย หรือใกล้ชิด เพราะหลายกรณีที่ผู้ก่อเหตุ คือ คนใกล้ชิดนั่นเอง

2. ทักษะการขอความช่วยเหลือ

ในกรณีที่พ่อ แม่ ไม่อยู่ด้วย ต้องสอนเด็กว่าเมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย ตกอยู่ในอันตราย หรือมีคนพาออกไปที่อื่น ต้องร้องขอความช่วยเหลือกับคนที่ผ่านไปมาทันที เพราะส่วนใหญ่คนร้ายไม่มีรถส่วนตัว จะพาขึ้นรถไฟ รถเมล์ รถสาธารณะ รถสองแถว และถ้าหลงกับพ่อแม่ในห้างสรรพสินค้าต้องทำความเข้าใจกับเด็กว่า ถ้าหลงทางอย่าเคลื่อนที่ไปไหน ถ้ามีคนช่วยก็ให้คนๆ นั้นพาไปที่พนักงานประชาสัมพันธ์ และให้ลูกเลือกจากคนที่เป็นพนักงานขายจะปลอดภัยที่สุดค่ะ

3. ทักษะการดูแลตนเอง

สอนให้ลูกอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย และสอนให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง รู้จักระมัดระวังอันตราย แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรจัดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูกแต่ละวัยแล้วสอนให้ลูกอยู่ในบริเวณที่กำหนดพร้อมบอกเหตุผลว่า “ลูกเล่นอยู่แถวนี้นะคะ เพราะถ้าไปไกลกว่านี้แม่จะมองไม่เห็นหรือหาหนูไม่เจอ” ถ้าเด็กออกนอกโซนที่กำหนดไว้ ต้องติดตามกลับมาโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าหากตรวจสอบได้เร็ว ส่วนใหญ่จะได้เด็กคืนหรือช่วยให้พ้นอันตรายได้ทันท่วงทีค่ะ

4. ทักษะการช่างสังเกต

ควรสอนให้เด็กช่างสังเกต ว่าคนแบบไหนที่ไม่น่าไว้วางใจ อย่าขู่ลูกว่าระวังแก๊งรถตู้จับเด็ก ต้องสอนเขาว่าเวลาคนแปลกหน้าให้ขนม ของเล่น ถ้าไม่ใช่ญาติ คนคุ้นเคย หรือพ่อแม่ไม่อยู่ด้วย อย่ารับของเด็ดขาด ต้องรีบกลับมาหาพ่อแม่ ครู มาถามก่อนว่ารับได้ไหม ให้เด็กรู้ว่าเวลาใครจะให้ของก็ต้องวิ่งมาหาแม่ก่อน

5. ทักษะด้านความจำ

ถ้าจำเป็นต้องพาเด็กไปในที่ชุมชนหนาแน่น เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ ที่มีคนเดินพลุกพล่านหนาแน่นอาจเกิดการพลัดหลงได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวด้วยการเขียน ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของเราไว้กับตัวเด็ก เพื่อให้ผู้พบตัวพาเด็กมาส่งคืน หรือถ้าเด็กโตหน่อยที่รู้เรื่องมากพอที่จะกลับบ้านด้วยตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนวิธีการเดินทางกลับบ้านหากเกิดเหตุพลัดหลงกัน ทักษะความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูก

เรื่องราวที่เด็กถูกลักพาตัวเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้ไกลตัวเลย เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าจนทำให้ผู้เป็นพ่อแม่ หัวใจสลาย เป็นข่าวพาดหัวแต่ละครั้ง ชวนอกสั่นขวัญแขวนสำหรับหัวอกคนเป็นพ่อแม่

ดังนั้น หากพบเห็นเด็กถูกใช้เป็นเครื่องมือหาเงิน สามารถแจ้งได้ที่ ศูนย์ประชาบดี โทร. 1300, มูลนิธิกระจกเงา โทร. 02-941-4194, กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ โทร.1191 หรือสำนักเทศกิจ โทร.1555 หากทุกคนในสังคมช่วยกัน ภัยต่างๆ ที่กำลังคุกคามเด็กของเราก็จะน้อยลงและหมดไปในที่สุดค่ะ

ที่มา – thairath , SuthiRaXeuxPhirocnKic

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ข้อคิดที่ได้จากการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
“Fun English” เกมส์ฝึกภาษาสำหรับเด็ก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
โรงเรียนอนุบาลทางเลือกที่โดนใจคุณแม่
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save