fbpx

แม่จ๋าอย่าเร่งรัดหนู 5 อาการที่บ่งบอกว่าลูกกำลังถูกเร่งรัด

Writer : Lalimay
: 6 ธันวาคม 2562

“หลังเลิกเรียนก็ต้องพาลูกไปเรียนกวดวิชา เพื่อให้เรียนได้ดีกว่าคนอื่นๆ เสาร์อาทิตย์ก็พาลูกมาเรียนดนตรี ศิลปะหรือกีฬาเพื่อให้เขามีความสามารถพิเศษอันโดดเด่น” แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าความหวังดีของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเรียนได้เร็วและรู้ได้เยอะ อาจทำให้ลูกเกิด ภาวะเด็กที่ถูกเร่งรัด (Hurried Child Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่แฝงมากับความคาดหวังและความหวังดีของพ่อแม่ได้ค่ะ

ภาวะเด็กที่ถูกเร่งรัด (Hurried Child Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกเร่งให้ทำอะไรต่างๆ มากเกินวัย ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ดนตรี กีฬา และการใช้ชีวิตที่ถูกคาดหวังให้เป็นแบบนั้นแบบนี้ เมื่อนานเข้าเด็กเหล่านี้จึงขาดเวลาที่จะได้เป็นตัวของตัวเอง ขาดโอกาสเล่นอย่างสนุกสนาน ทำให้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเด็กที่ถูกเร่งรัดจะแสดงอาการแบบไหนออกมาบ้าง แล้วพ่อแม่อย่างเราควรจะทำอย่างไร

1. เรียนได้ดีในช่วงแรก

ในช่วงแรกลูกอาจจะตั้งใจเรียนจนทำให้มีผลการเรียนที่ดี เพราะเมื่อเรียนได้ดีก็จะรู้ว่าพ่อแม่มีความสุขและชื่นชมเขา แต่เมื่อเขาเรียนในระดับที่สูงขึ้นหรือมีเนื้อหาที่ยากขึ้นเรื่อยๆ จนเกินวัยที่เขาจะสามารถเรียนรู้ได้ ก็จะทำให้กลายเป็นเด็กที่ไม่สนุกกับการเรียน รู้สึกไม่ชอบการเรียน ความพยายามที่เคยมีในตอนแรกก็ค่อยๆ ลดลง จนทำให้ผลการเรียนตกต่ำลงเรื่อยๆ

2. มีอาการทางกายที่เกิดจากความเครียด

เมื่อลูกรู้สึกเครียดหรือกดดันจากการถูกเร่งรัด อาการแรกก็มักจะปรากฏออกมาทางร่างกาย คือ ตัวเล็ก เพราะไม่ได้ออกกำลังกายมากเพียงพอ ลูกอาจบ่นเหนื่อยหรือหมดแรง นอกจากนี้ยังบ่น ปวดหัวและปวดท้องแบบที่หาสาเหตุทางกายไม่พบอีกด้วย 

3. มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ในครั้งแรกที่ลูกผิดหวังจากการที่เขาทำบางสิ่งไม่ได้จากการถูกเร่งรัด ก็อาจส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เคยร่าเริงสดใส รักการเรียนรู้ พร้อมออกไปพบเจอกับเรื่องต่างๆ ก็อาจทำให้เขาหมดแรงจูงใจ เบื่อหน่าย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ เก็บตัว บางครั้งอารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้านสังคม และในบางครั้งก็อาจโกหกพ่อแม่

4. อารมณ์ไม่แจ่มใส ไม่สนุกในการเรียน

เมื่อลูกถูกให้เรียนในสิ่งที่เกิดวัยก็จะทำให้เขารู้สึกว่าสิ่’ที่เรียนอยู่นั่นยาก และเริ่มไม่สนุกกับการเรียน  มีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เอาแต่เคร่งเครียดกับการเรียนรู้ สนใจเฉพาะเนื้อหาวิชาการ แม้ว่าจะเป็นการเรียนวิชาพละ ดนตรี ก็ตาม มักวิตกกังวลกลัวว่าจะทำตามท่ีพ่อแม่คาดหวังไม่ได้ เลยทำให้อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าและร้องไห้ง่าย 

5. ชอบการแข่งขัน เคร่งครัดต่อตัวเองและคนอื่นมากไป

ในเด็กบางคนเมื่อเขาอยู่ในสนามแข่งขันของการเรียน และประสบผลสำเร็จได้ผลการเรียนที่ดีอยู่เสมอ แล้วพ่อแม่คาดหวังในความสำเร็จของลูกขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งทำให้เกิดแรงกดดันและความเครียดมากเกินวัย และสั่งสมลักษณะนิสัยอันเกิดจากความเครียดและการชอบการเอาชนะ เด็กมักเป็นคนชอบการแข่งขัน เอาจริงเอาจัง เจ้าระเบียบ เคร่งครัดต่อตัวเองและผู้อื่นมากเกินไป

พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กทุกคนมีระยะเวลาในการพัฒนาร่างกาย สมองและจิตใจ และเขาจะต้องได้เรียนรู้ตามพัฒนาการที่ควรจะเป็นตามแต่ละช่วงอายุ ก็จะทำให้เขาสามารถเติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพ การที่พ่อแม่พยายามเร่งรัดลูกเพื่อให้เรียนทัน “เด็กคนอื่นๆ” และเพื่อเป็นการเติมเต็มความคาดหวังในสังคมที่มีต่อเด็กตัวเล็กๆ อาจจะส่งผลเสียมากกว่าที่จะเกิดผลดีก็ได้ 

ดังนั้นพ่อแม่จึงค่อยๆ ให้เขาได้เรียนรู้ตามพัฒนาการ เปิดใจรับฟังความรู้สึกและความคิดของลูก ให้เขาได้เรียนหรือทำในสิ่งที่สนใจ ไม่ใช่ไปเร่งรัดและบังคับให้ลูกทำตามความต้องการของพ่อแม่อย่างเดียว

แต่ถ้าลูกมีอาการว่าถูกเร่งรัดแล้ว อย่างแรกคือควรแสดงความเข้าใจ ห่วงใย ให้คำปรึกษาและพร้อมเข้าไปแก้ปัญหาร่วมกัน ห้ามต่อว่าว่าลูกเป็นเด็กที่ไม่ได้เรื่อง หรือแสดงท่าทีผิดหวังต่อลูก เพราะนั่นอาจสร้างบาดแผลทางจิตใจให้แก่ลูกได้

ข้อมูลอ้างอิง

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save