fbpx

4 โรคหน้าร้อนที่ต้องระวังตอนกักตัว

: 28 เมษายน 2564

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ครอบครัวต้องกักตัวอีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจต้อง work from home อยู่บ้าน แต่อยู่บ้านไม่ได้แปลว่าจะห่างไกลโรคเสมอไป ยังมีโรคภัยที่มาพร้อมกับหน้าร้อนและอากาศแปรปรวนช่วงนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้เจ้าหนูไม่สบายได้ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการได้เร็ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้น เรามาดูกันค่ะว่าเจ้าโรค 4 อย่างนี้จะมีอะไรบ้าง และสามารถป้องกันได้อย่างไร

 

โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ

ทั้งคู่ล้วนเป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจากลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ไม่สะอาด ยิ่งอากาศร้อนทำให้อาหารและเครื่องดื่มเน่าเสียได้ง่าย โดยโรคอุจจาระร่วงมักเกิดในเด็กเล็ก ส่วนโรคอาหารเป็นพิษมักเกิดในเด็กโตหรือเด็กวัยเรียน

เมื่อเป็นโรคอุจจาระร่วง จะมีอาการปวดเกร็งในท้อง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีอาการไข้อ่อน ๆ หากรุนแรงอาจถ่ายเป็นมูกเลือด ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

วิธีการป้องกันและดูแลรักษา:

  • ดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยน้ำในร่างกายที่เสียไป
  • งดดื่มนมจนกว่าอาการถ่ายเหลวจะหยุด
  • ดูแลความสะอาดของอาหารและน้ำ
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ

 

ไข้หวัดใหญ่

โรคติดต่อง่ายที่พบได้ตลอดปี หากผู้ติดโรคอยู่ในกลุ่มเสี่ยง (เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบหรือผู้สูงวัย) จะมีอาการรุนแรงและเสี่ยงเกิดภาวะอาการแทรกซ้อนอย่างปอดบวม แก้วหูอักเสบ

เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการไข้สูงฉับพลัน อุณหภูมิร่างกาย 38.5-40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะและตัว มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไอแห้ง หน้าแดง เปลือกตาแดง

วิธีการป้องกันและดูแลรักษา:

  • นอนพักผ่อนให้มาก
  • ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าเช็ดตัวเวลามีไข้สูง
  • กินอาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำเปล่าและน้ำผลไม้ให้มาก
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  • ไม่เอามือขยี้ตา แคะจมูกหรือเข้าปากเมื่อออกนอกบ้าน
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

 

ฮีทสโตรก

โรควายร้ายที่มาในฤดูร้อน เมื่ออยู่กลางแดด หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในที่ ๆ มีสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะเด็กที่ร่างกายยังไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่

เมื่อเป็นฮีทสโตรก ผิวหนังของลูกน้อยจะแดงและแห้งผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หากรุนแรงเด็กอาจหมดสติและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

วิธีการป้องกันและดูแลรักษา:

  • ให้เด็กอยู่ในที่ร่มระหว่างที่มีแดดหรืออากาศร้อนจัด อยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้ดี
  • จำกัดเวลาเล่นกลางแจ้ง
  • สวมเสื้อผ้าระบายความร้อนได้ดี หากออกกลางแจ้ง ให้สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด เสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันร่างกายจากแสงแดด
  • ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

 

โรคผดร้อน

ด้วยต่อมเหงื่อของเจ้าหนูที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่นัก เมื่อเจออากาศร้อนมาก ๆ สามารถทำให้รูขุมขนอุดตันและไม่สามารถขับเหงื่อได้ เกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดงหรือตุ่มน้ำใสที่ผิวหนัง ทำให้คันคะเยอ ไม่สบายตัว หากผ่านไปหลายวันแล้วอาการยังไม่ดี ให้พบแพทย์ เพราะอาจเป็นโรครูขุมขนอักเสบจากการติดเชื้อได้ค่ะ

วิธีการป้องกันและดูแลรักษา:

  • อาบน้ำเพื่อระบายความร้อนและทำความสะอาดเหงื่อไคลที่อาจอุดตันรูขุมขน
  • หลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นเวลานาน
  • เช็ดตัวบริเวณซอกแขน ขา คอ ก้นบ่อย ๆ
  • สวมใส่เสื้อผ้าเบาบาง ระบายเหงื่อได้ดี ไม่ใส่เสื้อผ้ารัด
  • ทาโลชั่นอย่างพอดี ไม่ให้อุดตันรูขุมขน
Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save