Parents One

ไม่ได้คิดไปเอง! 4 สาเหตุที่บอกว่าแม่ลูกอ่อนขี้ลืมจริงๆ นะ

คุณแม่คนไหนมีอาการขี้หลง ขี้ลืม โก๊ะๆ ป้ำๆ เป๋อๆ บ้างไหมคะ? อุ๊ย ยกมือกันเต็มเลย นั่นแสดงว่าอาการขี้ลืมเป็นอาการที่คุณแม่ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นกันและไม่ได้คิดไปเองอย่างแน่นอน เพราะจริงๆ แล้วมันมีเหตุผลที่ทำให้คุณแม่ขี้ลืมอยู่ด้วยล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอด (Mumnesia) ภาวะความจำเสื่อมที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ จนคลอดลูก ซึ่งเป็นเรื่องปกติและเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยจะเป็นการรบกวนกระบวนการจำของคุณแม่นั่นเอง

กระบวนการจำของมนุษย์เกิดจาก 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

ช่วงแรกคือการเข้ารหัส (Encoding) ขั้นตอนการแปลงภาพ เสียง การสัมผัสไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สมองรับรู้ได้ จากนั้นจะมีการจัดเก็บ (Storage) คือแปลงสิ่งที่รับรู้ไปเป็นความจำ จากนั้นเมื่อเราจะนึกเรื่องอะไรก็จะมีการเรียกความจำออกมา (Retrieval)

ซึ่งการที่คุณแม่มีสติจดจ่ออยู่กับลูกก็จะทำให้ช่วงการเข้ารหัสของเรื่องอื่นๆ ถูกรบกวน จนทำให้จำสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หรือขี้ลืมนั่นเอง

ฮอร์โมนและสัญชาติญาณความเป็นแม่

ฮอร์โมนในร่างกายของแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อสมอง ที่สำคัญอย่างนึงคือแม่จะจดจ่อต่อการเลี้ยงลูกมาก จะสัมผัสไวในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวกับลูก ก็คือสติทั้งหมดของแม่จะโฟกัสอยู่ที่ลูกอย่างเดียว

การอดนอนและความอ่อนล้า

การมีลูก 1 คนทำให้คุณแม่ต้องอดนอนหนักมากกก ในช่วงขวบปีแรกของลูกอาจจะได้นอนประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งนั่นทำให้เกิดความอ่อนล้า และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความจำบกพร่องได้

ให้นมลูกแบบเพลินๆ

หลังจากที่ผ่านช่วงเจ็บจี๊ดเวลาที่ให้นมลูกมาแล้ว แม่อาจจะรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขเวลาที่ลูกดูดนมเพราะมีฮอร์โมนแห่งความผูกพัน (Oxytocin) นั้นหลั่งออกมา เวลาที่ให้นมลูกแม่จึงรู้สึกเบลอๆ เคลิ้มๆ ไม่ค่อยมีสติเท่าไหร่นักและไม่ได้โฟกัสกับสิ่งอื่น

กลไกรับมือความเจ็บปวด

ร่างกายกำลังรับมือกับความเจ็บปวดหลังคลอดด้วยการสูญเสียความจำ

วิธีช่วยจำ

อย่างไรก็ตามคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดจะหลายไปได้เองเมื่อลูกมีอายุมากขึ้น อาจจะสัก 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละคนค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง