fbpx

4 ประโยชน์ที่เด็กๆ จะได้จากการดู YouTube อย่างเหมาะสม พร้อมตัวอย่างรายการที่ควรดู!

Writer : Lalimay
: 7 กุมภาพันธ์ 2563

ยูทูบ เป็นแหล่งรวมวิดีโอมากมายที่ให้เด็กๆ ได้ดูกัน ซึ่งแน่นอนว่าวิดีโอในยูทูบก็ไม่ได้เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกทั้งหมด ในหลายครั้งเราจึงเป็นกังวลว่าจะให้ลูกดูวิดีโอในยูทูบได้บ้างรึเปล่า แต่จริงๆ แล้วในยูทูบก็มีวิดีโอที่ดีและมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ อยู่เยอะทีเดียวนะคะ วันนี้เราจึงมี 4 ประโยชน์ที่ลูกจะได้จากการดูยูทูบอย่างเหมาะสม (ทั้งเนื้อหาและวิธีการใช้) มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ

ก่อนที่จะไปอ่าน ขอบอกก่อนว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้จออย่างเด็ดขาด ส่วนเด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถดูได้ แต่ไม่ควรเกินวันละ 1 ชั่วโมง ที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีการคัดกรองเนื้อหาที่จะให้ลูกดูก่อน เพื่อที่เราจะมั่นใจได้ว่าลูกจะได้ชมในสิ่งที่เหมาะสมกับอายุของเขาจริงๆ นอกจากนี้พ่อแม่จึงควรจะต้องนั่งดูกับลูกด้วย เผื่อว่าเขามีคำถามอะไร เราจะได้ตอบได้ และยังช่วยให้คนในครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน การจากนั่งดูในสิ่งเดียวกัน จะได้มีเรื่องชวนคุยนั่นเอง

1. ให้ความบันเทิงและเสริมสร้างจิตนาการของเด็ก

ยูทูบถือเป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายได้ดี ด้วยคอนเทนต์ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในยูทูบ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน เพลงสำหรับเด็ก มิวสิควิดีโอต่างๆ รวมไปถึงคอนเทนต์สนุกๆ จากเหล่ายูทูบเบอร์

เด็กที่เล่นยูทูบมักจะต้องการความสนุกสนานและผ่อนคลาย ด้วยการดูวิดีโอต่างๆ ที่อยู่บนโลกยูทูบไปเรื่อยๆ ซึ่งยูทูบก็จะรันวิดีโอขึ้นมาตามความสนใจของเด็กในขณะนั้น มีงานวิจัยจากรายงานพฤติกรรมและทัศนคติในการใช้สื่อของเด็กและผู้ปกครองประจำปี 2018 โดย Office of Communications (Ofcom) หน่วยงานควบคุมการใช้สื่อแห่งสหราชอาณาจักร พบว่าเด็กแต่ละช่วงอายุมีความสนใจในเนื้อหาที่แตกต่างกัน คือ 

  • เด็กอายุ 3-4 ขวบ : ใช้ยูทูบ 45% โดยดูการ์ตูน 80% และดูคลิปตลกหรือคลิปที่แกล้งกัน 40%
  • เด็กอายุ 5-7 ขวบ : ใช้ยูทูบ 70% โดยดูการ์ตูน 65% และดูคลิปตลกหรือคลิปที่แกล้งกัน 61%
  • เด็กอายุ 8-11 ขวบ : ใช้ยูทูบ 77% โดยดูคลิปตลกหรือคลิปที่แกล้งกัน 75% ดูมิวสิกวิดีโอ 58%
  • เด็กอายุ 12-15 ขวบ : ใช้ยูทูบ 89% โดยดูคลิปตลกหรือคลิปที่แกล้งกัน 71%

แน่นอนว่าหากเด็กดูการ์ตูนที่เหมาะกับช่วงวัย ก็จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการของเด็กและมีพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม เพราะด้วยสีสันของการ์ตูน ตัวละครต่างๆ รวมถึงการใช้เสียงที่เป็นตัวกระตุ้นสมองทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ นั่นเอง

ตัวอย่างช่องที่ให้ความบันเทิงอย่างสร้างสรรค์ : Cocomelon – Nursery RhymesMasha and The Bear, KidsOnCloud, Little Monster Kids, Octonauts

 

2. มีเทคนิคสอนอะไรหลายๆ อย่าง ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากในชั้นเรียน

สำหรับประโยชน์ในข้อต่อมาคือ เรื่องของความรู้ที่เด็กๆ จะได้รับจากการดูยูทูบ เพราะในยูทูบจะมีวิดีโอเกี่ยวกับการศึกษามากมาย เช่น ช่องเกี่ยวกับสารคดีต่างๆ หรือช่องที่มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์สนุกๆ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน

นอกจากนี้เด็กแต่ละคนก็ยังมีความสนใจต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนชอบเรียนเกี่ยวกับวิชาการ ก็เปิดวิดีโอสอนเทคนิคในการเรียนต่างๆ บางคนชอบทำอาหารก็สามารถดูวิดีโอทำอาหารแล้วไปทำตามได้ ส่วนบางคนก็สนใจเรื่องการแต่งหน้า การดูยูทูบแล้วทำตามก็เป็นช่องทางหนึ่งในการฝึกฝนฝีมือของเด็กๆ หรือจะเป็นการทำ DIY ก็ถือเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างช่องที่ให้ความรู้และเทคนิคที่น่าสนใจ : Cooking tree 쿠킹트리PEACHIINongpearpaplern น้องแพรพาเพลินBrianna’s Secret Club TH, Atompakon

 

3. ก่อให้เกิดทักษะ การคิดตามหรือสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ จากการติดตามตัวอย่างบุคคลที่ดี

ทักษะบางอย่างก็อาจะเกิดขึ้นได้จากการดูอะไรซ้ำๆ รวมไปถึงการมี mindset ที่ดีต่อสิ่งที่ตนเองอยากทำหรือสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยในยูทูบนั้นมีวิดีโอมากมายที่ช่วยให้เด็กเกิดทักษะบางอย่าง และที่สำคัญที่สุดคือได้รับแรงบันดาลใจจากวิดีโอที่ดู ไม่ว่าจะเป็นตัวคอนเทนต์ หรือว่าตัวยูทูบเบอร์ที่เป็นคนสร้างสรรค์เนื้อหาเหล่านั้น

มีหลายครั้งที่คนเก่งๆ มักจะเกิดแรงบันดาลใจจากการยกคนที่ตัวเองชื่นชอบให้เป็นไอดอลในการทำสิ่งต่างๆ เช่น อยากจะลองทำอาหารเป็น ก็ดูวิดีโอเกี่ยวกับการทำอาหาร ซึ่งคนที่เป็นยูทูบเบอร์ก็อาจจะมีไอเดียในการทำเมนูที่น่าสนใจ หรือมีเทคนิคเกี่ยวกับการเข้าครัวที่สามารถเป็นความรู้ให้เด็กได้ อย่างช่องแคสต์เกมบางช่องก็สามารถสร้างแนวคิดดีๆ หรือเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาอังกฤษให้แก่เด็กได้เหมือนกัน

หรือบางคนอยากลองออกไปเปิดประสบการณ์จากการท่องเที่ยว แต่ว่าด้วยความที่ยังเป็นเด็กและยังมีงบประมาณที่ไม่มากพอนัก การที่ได้ดูยูทูบเบอร์สายท่องเที่ยวที่ตนเองชื่นชอบ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กได้ว่า เมื่อเขาโตขึ้นเขาจะต้องพาตัวเองไปในทิศทางไหน มีอะไรบ้างที่เขาควรเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง หรือต้องวางแผนชีวิตยังไง เก็บเงินยังไง ถึงจะสามารถออกเดินทางเหมือนคนที่เขาชื่นชอบได้ ซึ่งถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้แก่เด็กนั่นเอง

ตัวอย่างช่องที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก : อาสาพาไปหลงI Roam AloneHEARTROCKER

 

4. ทำให้มีมุมมองต่อโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นและรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ มากขึ้น

เมื่อเด็กยังไม่สามารถออกไปผจญภัยในโลกกว้างด้วยตนเองได้ วิดีโอในยูทูบจึงเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้พวกเขาได้เห็นโลกในมุมใหม่ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นสารคดีต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่จะพาเด็กๆ ทุกคนไปรู้จักกับสัตว์โลกแปลกๆ หรือชีวิตของสัตว์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือจะเป็นวิดีโอการท่องเที่ยวจากเหล่ายูทูบเบอร์ ที่แต่ละคนก็มักจะพาเด็กๆ ไปรู้จักกับสถานที่ใหม่ๆ วัฒนธรรมแปลกๆ รวมไปถึงอาหารการกินที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

นอกจากนี้ยังมีวิดีโอที่ทำให้เด็กๆ ได้รับความรู้รอบตัว รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกของเรา อย่างเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพร่างกาย รวมไปถึงวิธีการใช้ชีวิตต่างๆ ซึ่งในบางครั้งก็เป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน หรือไม่สามารถหาคำตอบจากบุคคลที่อยู่รอบตัวได้

ตัวอย่างช่องที่ช่วยเปิดมุมมองให้แก่เด็กๆ  : Next StepNational Geographic KidsBBC Earth, Peekaboo KidzTED-Ed ThaiMinuteVideos Thailand

เห็นไหมคะว่า ยูทูบ เป็นแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพียงแต่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นคนที่เลือกสรรเนื้อหาต่างๆ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกให้เขาดู โดยที่เราอาจจะต้องนั่งดูอยู่ด้วย หรืออาจจะต้องมีการตั้งค่าโหมดที่จำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุทูบขึ้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาในเวลาที่ลูกค้นหาวิดีโอดู นอกจากนี้ยังมีแอปที่คุณพ่อคุณแม่สามรถโหลดติดเครื่องเอาไว้ให้ลูกใช้แทนยูทูบ นั่นก็คือ ยูทูบ คิดส์ (YouTube Kids) นั่นเองค่ะ

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

 

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save