fbpx

สรุปสถานการณ์ 11 โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นในเด็กประจำปี 2561 รู้ก่อนปีหน้าป้องกันได้!

Writer : Lalimay
: 21 ธันวาคม 2561

ตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา เราได้ยินสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของเด็กๆ อยู่เสมอ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นประจำทุกปี และโรคที่ไม่เคยรู้ว่ามีมาก่อนซึ่งน่ากลัวมากทีเดียว วันนี้เราจึงรวบรวมสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บในเด็กตลอดปีมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ปีหน้าเราจะได้เฝ้าระวังโรคเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็กของเราค่ะ

โรค 4S (SSSS)

จากข่าวที่เห็นกันไป ว่ามีเด็กทารกผิวหนังลอกหลังจากที่ถูกคนแปลกหน้า มาจุ๊บ มากอด มาสัมผัส ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Staphylococcal scalded skin syndrome (SSSS) โดยเป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทัน อาการคือมีไข้ กระสับกระส่าย งอแง ผิวหนังแดงและลอก ผิวหนังหยาบจะเห็นชัดเจนบริเวณข้อพับ รอบๆ ปาก

วิธีป้องกัน

ควรให้คนที่จะมาจับหรือเล่นกับลูกล้างมือ ทำความสะอาดมือให้สะอาดก่อน อย่าให้คนแปลกมามาจุ๊บลูก

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease)

ผู้ป่วยจะมีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก ที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดง ตุ่มพองใสรอบ ๆ จุดแดงที่บริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือและเท้า โรคนี้รักษาตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ กระตุ้นให้รับประทานอาหาร และทายาที่แผลในปาก

วิธีป้องกัน

ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ต่างๆ หากพบว่าเด็กมีไข้ มีตุ่มแดงภายในช่องปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วยเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 67,122 ราย เสียชีวิต 1 ราย

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

ไวรัสที่มักมาปลายฝนต้นหนาว ทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หากเป็นหนักมากอาจเป็นปอดอักเสบได้ มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ จาม แต่อาการที่บ่งชี้ว่าอาจติดเชื้อไวรัส RSV คือ หอบเหนื่อย หายใจเร็วและแรงรวมถึงมีเสียงครืดคราด มีเสียงหวืดในปอด

วิธีป้องกัน

ให้ลูกล้างมือบ่อยๆ หากลูกไม่สบายควรให้หยุดเรียนและรักษาจนกว่าจะหายดี

ข้อมูลอ้างอิง – bumrungrad.com/

โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ (Pneumonia or Pneumonitis)

โรคปอดบวมเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส มักเป็นโรคแทรกซ้อนหลังป่วยไข้หวัดประมาณ 3 วัน โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีเขียวข้น เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย

วิธีป้องกัน

หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอยู่เสมอ ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงให้รักษาร่างกายให้อบอุ่น

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 270,725 ราย เสียชีวิต 224 ราย

ข้อมูลอ้างอิงbumrungrad.com/

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา มี 3 ชนิดคือ ชนิด เอ บี และซี  ที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และซี มักมีอาการทันทีทันใด มีไข้สูง ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ

วิธีป้องกัน

  • ปิด : ปิดปาก ปิดจมูกเมื่อไอ จาม
  • ล้าง : ล้างมือบ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของ
  • เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • หยุด : เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 172,457 ราย เสียชีวิต 31 ราย

โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา (ROTA Virus)

โรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า เด็กมีอาการท้องร่วง มีไข้ อาเจียนมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีจะมีอาการรุนแรงมาก ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายอาจมีอาการขาดน้ำรุนแรง และเกิดภาวะช็อคได้ โรคนี้ติดต่อกันโดยการกินอาหาร นม หรืออมมือ อมของเล่นที่มีเชื้อนี้

วิธีป้องกัน

รับวัคซีนป้องกันไวรัสโรตา สอนให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตนเอง ล้างมือเป็นประจำ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค (โรคท้องร่วงจากทุกสาเหตุ) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 1,151,379 ราย เสียชีวิต 9 ราย

ข้อมูลอ้างอิงpobpad.com

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย ติดต่อกันโดยการไอ จาม หายใจรดกันหรอโดยการสัมผัส การให้ของร่วมกับผู้ป่วยอาการป่วย ในเด็กจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และมีผื่นขึ้น พร้อมกับวันที่มีไข้ ต่อมาผื่นกระจายไปทั่วตัว บางรายอาจมีตุ่มในปาก ทำให้ปากลิ้นเปื่อย ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายเองใน 1-3 สัปดาห์ โดยไม่มีแผลเป็น

วิธีป้องกัน

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ทำความสะอาดของเล่น ของใช้ของลูกบ่อยๆ

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 16 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 58,011 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

โรคหัด (Measles)

โรคหัดเป็นโรคที่เกิดจากจากติดเชื้อไวรัส ติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือละอองในอากาศ อาการของโรคคือ ใน 4-5 วันแรกมีไข้สูง ไอมาก ไอแห้ง เป็นหวัด ตาแดง กินอาหารได้น้อยลง จากนั้นจะมีผื่นตุ่มแดงเล็กๆ ลามไปทั่วทั้งตัว

วิธีป้องกัน

รับวัคซีนโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR – Measles, Mumps and Rubella vaccine)

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 14 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 4,714 ราย เสียชีวิต 10 ราย

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนที่ติดต่อผ่านทางกัด ข่วน เลีย หรือสัมผัสกับน้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อเข้าทางบาดแผล ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 เดือน หากถูกกัดหรือข่วนเพียงเล็กน้อยให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและถูด้วยสบู่หลายๆ ครั้ง ประมาณ 10 นาที จากนั้นรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกัน

แนะนำให้ยึดหลัก 5 ย. คือ

  1. อย่าเหยียบ : บริเวณลำตัว ขา หรือหางของสัตว์
  2. อย่าแยก : สัตว์ที่กำลังกัดกัน
  3. อย่าแหย่ : สัตว์เพราะอาจโดนข่วนหรือกัดได้
  4. อย่าหยิบ : อาหารขณะสัตว์กำลังกิน
  5. อย่ายุ่ง : กับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 1 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 16 ราย เสียชีวิต 16 ราย

โรคตาแดง (H.conjunctivitis)

โรคตาแดงติดต่อจากการสัมผัสผ่านน้ำตา อาการโรคตาแดง คือ เริ่มมีอาการน้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตาเป็นเมือกใสหรือสีเหลืองอ่อน ในตอนแรกจะเป็นกับตาข้างเดียว แต่อีก 2-3 วันถัดมาอาจลุกลามมายังตาอีกข้างหนึ่งได้ เป็นมากในช่วง 4-7 วันแรก และจะหายได้เองภายใน 1-2 อาทิตย์

วิธีป้องกัน

ล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะขยี้หรือสัมผัสตา ไม่คลุกคลีและใช้สิ่งของร่วมกับคนที่เป็นโรคตาแดง อย่าให้แมลงวัน แมลงหวี่มาตอมตา ที่สำคัญจะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นและไม่ควรว่ายน้ำในช่วงตาแดงระบาด

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 16 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 90,502 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

โรคไข้เลือดออก (Dengue)

อาการของไข้เลือดออก คือ ปวดหัว ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อหรือกระดูก มีผื่นขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง

วิธีป้องกัน

ป้องกันได้ด้วยมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

สำนักระบาดวิทยา : จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 17 ธ.ค. 61 พบผู้ป่วย 51,800 ราย เสียชีวิต 8 ราย

 

 

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ข้อมูลทางแพทย์ ข้อมูลทางแพทย์
11 ธันวาคม 2563
7  โรคเด็กที่ต้องเฝ้าระวังในหน้าฝน
ข้อมูลทางแพทย์
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save