fbpx

10 บทสนทนาชวนลูกคุย ฉบับพ่อแม่ที่ชวนคุยไม่เก่ง

Writer : Mneeose
: 3 กุมภาพันธ์ 2564

นิสัยการชวนคุยไม่เก่งของคุณพ่อคุณแม่บางท่าน บางครั้งก็อาจกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการหาเรื่องคุยกับลูกแล้วล่ะสิ เมื่อเราไม่กล้าถามลูก หรือไม่รู้จะคุยอะไรกับลูกน้อยดี ก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวนั้นห่างเหินได้

เรามีทริคชวนลูกคุยเล็กน้อยมาฝากกันค่ะ ก่อนที่จะพูดคุยกับลูก คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักขยายความในการพูดของเด็กๆ ด้วยนะคะ เพราะว่าเด็กเล็กเขามักจะไม่ค่อยรู้เรื่อง เมื่อเราถามอะไรไป เขาจะตอบเท่าที่เราถามเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นถาม และชวนลูกคุย และรู้จักต่อประโยคอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง

วันนี้ Parents One จึงมีวิธีแก้ปัญหาในการชวนลูกคุยไม่เก่งของคุณพ่อคุณแม่ด้วยบทสนทนาต่างๆ มาฝากกันค่ะ จะมีประโยคไหนโดนใจลูกน้อยบ้าง ไปอ่านกันเลย

บทสนทนาที่ 1 : วันนี้หนูเล่นเกมอะไรกับเพื่อนบ้างเอ่ย?

เริ่มกันด้วยคำถามปลายเปิดง่ายๆ ชวนลูกคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ต้องให้เขาใช้กระบวนการคิดมาก แต่เน้นให้ตอบออกมาตามความรู้สึก เรื่องเพื่อนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด เพราะพวกเขาได้อยู่ และเล่นด้วยกันตลอดเวลา

หรือคุณพ่อคุณแม่จะลองถามชื่อเพื่อนๆ ของลูก และให้ลูกลองบอกนิสัยดูก็ได้ค่ะ เด็กๆ มักจะแสดงสีหน้า และอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ว่าเพื่อนคนไหนมีนิสัยเป็นอย่างไร?

ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากเช็คว่าลูกฉันถูกรังแกรึเปล่าเวลาอยู่ที่โรงเรียน? ลองถามคำถามนี้ แล้วลองสังเกตสีหน้า แววตา และอารมณ์ของลูกดูสิคะ ได้คำตอบแบบที่เราไม่ต้องถามลูกตรงๆ เลย หรือจะลองถามว่า “วันนี้ลูกไปทานข้าวกับเพื่อนคนไหนบ้างเอ่ย” คำถามนี้ก็สามารถเช็คได้อีกเช่นกันค่ะ แต่ที่สำคัญเลย ก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าละเลยการเช็คสภาพจิตใจของเด็กๆ ด้วยนะคะ

 

บทสนทนาที่ 2 : ถามเรื่องที่โรงเรียน 

การถามเรื่องการเรียน และคุณครูที่สอนวิชาต่างๆ ทำให้เรารู้ว่าลูกจะมีแนวโน้มชื่ชอบ และสนใจศาสตร์ด้านไหนมากกว่ากัน รวมทั้งได้รู้ถึงพัฒนาการด้านการเรียนของลูกน้อย เพื่อที่จะได้ส่งเสริมลูกให้ถูกด้าน

แถมเช็คได้ด้วยว่าพวกเขาชอบเรียนโดยวิธีนี้หรือไม่ ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกวิธีในการเรียนของลูกได้อย่างถูกต้อง โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้ลูกนั่งเรียนในห้องอย่างเดียว

 

บทสนทนาที่ 3 : อยากให้พ่อกับแม่ทำอะไรให้กินอะไรในวันพรุ่งนี้ดีจ๊ะ?

คิดไม่ออก บอกไม่ถูก ให้ถามเรื่องของกินของโปรดของเจ้าตัวน้อยเลยค่ะ รับรองว่าลูกตอบเป็นต่อยหอยแน่นอน

แต่ถ้าลูกตอบว่า “ไม่รู้ว่าอยากให้พ่อกับแม่ทำอะไรให้ทานดี” ลองเสนอเมนูสุดอร่อย หรือลองทำเมนูสุดเเปลกที่คิดค้นโดยคุณลูกเอง โดยให้เขาเป็นคนเลือกเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมกัน จนเกิดเป็นอีกหนึ่งเมนูเลยก็ได้นะคะ กลายเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดีสุดๆ ไปเลย

 

บทสนทนาที่ 4 : ให้ลูกเลือกหนังสือนิทานที่อยากให้อ่านให้ฟังในคืนนี้จ๊ะ?

เด็กตัวน้อยเกิดมาพร้อมกับนิทานเล่มโปรดในดวงใจอยู่แล้ว งั้นมาชวนลูกให้เลือกหนังสือนิทาน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟังในคืนนี้กันดีกว่า

บทสนทนานี้ สอนให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่า : พยายามให้ลูกได้เป็นคนเลือกบ้าง อย่าเป็นคนเลือกให้ลูกหมดทุกอย่างนะคะ ไม่อย่างนั้นเขาจะกลายเป็นเด็กที่ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นข้างนอกนั่นเอง

 

บทสนทนาที่ 5 : เรามาระบายสีเล่นกันไหม? เอารูปอะไรดีจ๊ะ

ลองหากิจกรรมที่ลูกชอบทำ แล้วลองมานั่งทำคู่กับลูกสิคะ รับรองว่าได้ต่อบทสนทนายาวๆ แน่นอน เพราะเจ้าตัวเล็กจะพูด และถามไม่หยุดเลยล่ะ

 

บทสนทนาที่ 6 : เรามาเตรียมเลือกชุดสำหรับวันพรุ่งนี้กันดีกว่า

การชวนเจ้าตัวเล็กเลือกชุด นอกจากจะทำให้เด็กๆ กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองแล้ว ยังเป็นการฝึกระเบียบวินัยของลูกน้อยให้รู้จักการช่วยเหลือตัวเองเป็นอีกด้วย

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกนิสัยให้ลูกเป็นเด็กที่รู้จักเตียมตัว หรือเตรียมความพร้อมก่อนที่จะถึงวันพรุ่งนี้ วิธีง่ายๆ เลย เช่น การเตรียมชุดที่ใส่สำหรับวันพรุ่งนี้ทั้งหมดให้เรียบร้อย จะได้ไม่ต้องรีบลนหาชุดในตอนเช้า

 

บทสนทนาที่ 7 : วันนี้มีเรื่องที่ทำให้ลูกเสียใจบ้างรึเปล่า?

คำถามนี้ เป็นคำถามที่เราแนะนำให้ทุกครอบครัวหมั่นถามลูกน้อย เพราะบางครั้งลูกอาจจะไปเจอเรื่องที่ไม่ดีมา แต่ไม่กล้ามาพูดกับคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ เราจึงต้องเริ่มถามลูกก่อน เพื่อให้เขากล้าเล่าในสิ่งที่เจอมา ไม่กลายเป็นเด็กเก็บกดเมื่อพวกเขาโตขึ้นนั่นเอง

ดูแลสุขภาพกายแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพจิตใจของลูกน้อยด้วยนะคะ

 

บทสนทนาที่ 8 : เรื่องที่ลูกมีความสุขที่สุดในวันนี้ล่ะ?

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุข หรือเศร้าก็ควรให้ลูกน้อยได้แชร์ความรู้สึกของตัวเองออกมาให้ครอบครัวได้ฟังเช่นกัน ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ของกันและกันได้อย่างดีที่สุด

แต่ที่สำคัญ คือ ไม่ควรให้ลูกแชร์เรื่องราวของเขาแค่เพียงฝั่งเดียว แต่ฝั่งคุณพ่อคุณแม่ก็ควรรู้จักแลกเปลี่ยนเล่าเรื่องราวที่พบเจอมาให้ลูกๆ ได้ฟังเช่นกัน

 

บทสนทนาที่ 9 : ถามเรื่องกิจวัตรประจำวันทั่วไปของลูก (ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งรอบตัวที่พบเจอได้เช่นกัน)

จุดสำคัญในการชวนลูกคุย คือ การที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักต่อยอดถามเรื่องราวต่างๆ ที่ลูกไปพบเจอมาเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน ให้พวกเขาได้รู้จักที่จะระบายออกมา เพื่อในอนาคตจะได้ไม่เป็นเด็กเก็บกดนั่นเองค่ะ

 

บทสนทนาที่ 10 : ถ้าหนูมีเรื่องอะไรอยากจะบอกเล่ากับพ่อแม่ บอกได้เลยนะลูก พ่อแม่ยินดีรับฟังหนูเสมอ

บทสนทนาสุดท้าย คุณพ่อคุณแม่บางคนมักจะชอบปากเเข็งมากๆ แต่กลับลูกแล้ว เราขอให้ทุกท่านเว้นลูกไว้สักคนหนึ่งนะคะ เพราะพวกเขายังต้องเติบโต และต้องผ่านอุปสรรคอีกเยอะ คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่สำคัญมากในการช่วยสนับสนุนลูกอยู่เสมอ

ไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม ควรพูดและบอกให้ลูกได้รับรู้ถึงความห่วงใย และความรักที่เรามีต่อเขาเถอะค่ะ มันไม่ได้เสียหายอะไรเลย ถ้าหากเราจะดึงลูกมากอด มาหอมบ่อยๆ ให้กำลังใจลูก ไม่ซ้ำเติมลูก เมื่อพวกเขาได้ทำผิดพลาด บอกรักลูกก่อนนอนทุกคืน เพื่อให้พวกเขานอนหลับฝันดี

เชื่อเถอะค่ะว่า ในอนาคตพวกเขาต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดีอย่างแน่นอน

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save